ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย (trustee)"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' เอกวีร์ มีสุข '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำ..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''พัฒนาการและฐานคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''พัฒนาการและฐานคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย'''</span> | ||
แนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายมีพัฒนาการทางความคิดที่สามารถสืบย้อนไปถึงธรรมเนียมทางกฎหมายโรมันโบราณและกฎหมายกับธรรมเนียมในยุคกลาง เพื่อกำหนดวิถีปฏิบัติทางการเมืองและศาสนาของประชาชน (ผ่านผู้แทนในตำแหน่งต่าง ๆ อาทิ ทูต (ambassadors) หรือผู้แทนแบบตัวแทน (delegates) ที่จะเป็นตัวแทนให้กับเมือง เจ้าที่ดิน ชุมชน หรือกลุ่มทางศาสนาเข้าไปทำงานในองค์กรเพื่อทำหน้าที่การตัดสินใจ (เช่น สภาท้องถิ่น หรือรัฐสภา)[[#_ftn3|[3]]] โดยที่พัฒนาการของระบบกฎหมายและการปกครองของยุโรปได้นำเสนอแนวคิดและวิธีปฏิบัติของความเป็นผู้แทนทางการเมืองในสองลักษณะที่เติมเต็มซึ่งกันและกันคือ [[ผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทน_(delegation)]] และผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย (trustee)[[#_ftn4|[4]]] สะท้อนได้จากการแบ่งแยกของ 1) แนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบมิติการให้คำสั่งหรือ instructions อันสะท้อนแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทน ที่ผู้แทนทางการเมืองต้องรับความเห็นของประชาชนในชุมชนเพื่อนำไปสะท้อนและถ่ายทอดยังที่ประชุมชนของการตัดสินใจ และ 2) แนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบมิติ plena potestas (the plena potestas of representatives) ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดและผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย อันหมายถึงความสามารถของผู้แทนที่สามารถตัดสินใจและรับรองว่าผลของการตัดสินใจของผู้แทนจะผูกพันกับชุมชนของผู้แทนคนนั้นด้วย[[#_ftn5|[5]]] ในธรรมเนียมทางกฎหมายของยุคกลางได้พัฒนาแนวคิดและวิถีปฏิบัติสะท้อนแนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองในสองลักษณะข้างต้น แต่ในมิติแบบ plena potestas ที่องค์กรผู้มีอำนาจทั้งทางโลกและทางศาสนา ผู้แทนจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ใต้ปกครองให้สามารถมีการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ผู้แทนของชุมชนและที่ดินมีอำนาจในการแสดงจุดยืนและสร้างการตัดสินใจที่จะต้องผูกพันผลการตัดสินใจดังกล่าวต่อผู้ที่ถูกแทน (the represented)[[#_ftn6|[6]]] | แนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายมีพัฒนาการทางความคิดที่สามารถสืบย้อนไปถึงธรรมเนียมทางกฎหมายโรมันโบราณและกฎหมายกับธรรมเนียมในยุคกลาง เพื่อกำหนดวิถีปฏิบัติทางการเมืองและศาสนาของประชาชน (ผ่านผู้แทนในตำแหน่งต่าง ๆ อาทิ ทูต (ambassadors) หรือผู้แทนแบบตัวแทน (delegates) ที่จะเป็นตัวแทนให้กับเมือง เจ้าที่ดิน ชุมชน หรือกลุ่มทางศาสนาเข้าไปทำงานในองค์กรเพื่อทำหน้าที่การตัดสินใจ (เช่น สภาท้องถิ่น หรือรัฐสภา)[[#_ftn3|[3]]] โดยที่พัฒนาการของระบบกฎหมายและการปกครองของยุโรปได้นำเสนอแนวคิดและวิธีปฏิบัติของความเป็นผู้แทนทางการเมืองในสองลักษณะที่เติมเต็มซึ่งกันและกันคือ [[ผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทน_(delegation)|ผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทน_(delegation)]] และผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย (trustee)[[#_ftn4|[4]]] สะท้อนได้จากการแบ่งแยกของ 1) แนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบมิติการให้คำสั่งหรือ instructions อันสะท้อนแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทน ที่ผู้แทนทางการเมืองต้องรับความเห็นของประชาชนในชุมชนเพื่อนำไปสะท้อนและถ่ายทอดยังที่ประชุมชนของการตัดสินใจ และ 2) แนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบมิติ plena potestas (the plena potestas of representatives) ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดและผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย อันหมายถึงความสามารถของผู้แทนที่สามารถตัดสินใจและรับรองว่าผลของการตัดสินใจของผู้แทนจะผูกพันกับชุมชนของผู้แทนคนนั้นด้วย[[#_ftn5|[5]]] ในธรรมเนียมทางกฎหมายของยุคกลางได้พัฒนาแนวคิดและวิถีปฏิบัติสะท้อนแนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองในสองลักษณะข้างต้น แต่ในมิติแบบ plena potestas ที่องค์กรผู้มีอำนาจทั้งทางโลกและทางศาสนา ผู้แทนจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ใต้ปกครองให้สามารถมีการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ผู้แทนของชุมชนและที่ดินมีอำนาจในการแสดงจุดยืนและสร้างการตัดสินใจที่จะต้องผูกพันผลการตัดสินใจดังกล่าวต่อผู้ที่ถูกแทน (the represented)[[#_ftn6|[6]]] | ||
เอ็ดมันต์ เบิร์ก (Edmund Burke) เป็นนักคิดและนักปรัชญาชาวอังกฤษที่ให้มุมมองสนับสนุนแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายที่แตกต่างจากนักคิดท่านอื่นที่สนับสนุนแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทน เบิร์กให้ความสำคัญต่อบทบาทของผู้แทนที่ควรทำหน้าที่รับผิดชอบต่อประชาชนทั่วไปทั่งประเทศ ไม่ใช่แค่รับผิดชอบและทำหน้าที่เพียงสะท้อนความเห็นของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในเขตของตนเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้เบิร์กจึงมองว่ารัฐสภาในฐานะสถาบันทางการเมืองของความเป็นผู้แทนต้องทำหน้าที่เป็นเวทีของการไตร่ตรองถึงผลประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติ มิใช่เป็นที่ประชุมของเหล่าผู้แทนที่นำเสนอความคิดเห็นและความต้องการของผลประโยชน์ต่าง ๆ ผู้แทนที่ทำงานในสภาจึงควรเป็นผู้แทนของชาติไม่ใช่ผู้แทนของเขตเลือกตั้ง กล่าวคือ '''“แน่ละ คุณเลือกตัวแทน แต่เมื่อคุณเลือกเขา เขาผู้นั้นก็ไม่ใช่สมาชิกของบริสตอล แต่เป็นสมาชิกของรัฐสภา”''' '''(“You choose a member, indeed; but when you have chosen him he is not a member of Bristol, but he is a member of Parliament”)'''[[#_ftn7|[7]]] | เอ็ดมันต์ เบิร์ก (Edmund Burke) เป็นนักคิดและนักปรัชญาชาวอังกฤษที่ให้มุมมองสนับสนุนแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายที่แตกต่างจากนักคิดท่านอื่นที่สนับสนุนแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทน เบิร์กให้ความสำคัญต่อบทบาทของผู้แทนที่ควรทำหน้าที่รับผิดชอบต่อประชาชนทั่วไปทั่งประเทศ ไม่ใช่แค่รับผิดชอบและทำหน้าที่เพียงสะท้อนความเห็นของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในเขตของตนเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้เบิร์กจึงมองว่ารัฐสภาในฐานะสถาบันทางการเมืองของความเป็นผู้แทนต้องทำหน้าที่เป็นเวทีของการไตร่ตรองถึงผลประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติ มิใช่เป็นที่ประชุมของเหล่าผู้แทนที่นำเสนอความคิดเห็นและความต้องการของผลประโยชน์ต่าง ๆ ผู้แทนที่ทำงานในสภาจึงควรเป็นผู้แทนของชาติไม่ใช่ผู้แทนของเขตเลือกตั้ง กล่าวคือ '''“แน่ละ คุณเลือกตัวแทน แต่เมื่อคุณเลือกเขา เขาผู้นั้นก็ไม่ใช่สมาชิกของบริสตอล แต่เป็นสมาชิกของรัฐสภา”''' '''(“You choose a member, indeed; but when you have chosen him he is not a member of Bristol, but he is a member of Parliament”)'''[[#_ftn7|[7]]] | ||
สำหรับพัฒนาการของสถาบันการเมืองแบบตัวแทนที่สะท้อนแนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย สามารถศึกษาผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญและองค์กรผู้ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติที่จะมุ่งกำหนดหน้าที่ของผู้แทนราษฎรไว้ว่าควรเป็นแบบได้รับมอบหมาย ตัวอย่างเช่น ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 และการตรารัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1791 ที่ถือว่า '''“ผู้แทนจังหวัดทั้งหลาย ถือว่าเป็นผู้แทนของชาติโดยทั้งหมด”'''[[#_ftn8|[8]]] หรือแนวคิดการออกแบบรัฐธรรมนูญอเมริกันที่ได้สถาปนาระบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (federal government) นักคิดและนักปรัชญาอย่างแอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส (Emmanuel Joseph Sieyès) ต่อรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส และเจมส์ เมดิสัน (James Madison) ต่อรัฐธรรมนูญอเมริกันมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอกรอบมโนทัศน์ทางการเมืองและสถาบันแบบสมัยใหม่เกี่ยวกับความเป็นผู้แทนทางการเมืองและเศรษฐกิจ และแสดงให้เห็นว่าความเป็นตัวแทนในการปกครองแบบตัวแทนที่มีความแตกต่างจากแนวคิดประชาธิปไตย (โดยเฉพาะประชาธิปไตยทางตรง) ในงานชื่อ ''Qu’est-ce que le Tiers-E´ tat? (What Is the Third Estate?)'' ของซีเยแย็ส เสนอว่าความแตกต่างระหว่างแนวคิดประชาธิปไตยที่มองว่าประชาชาชนสามารถตัดสินใจออกกฎหมายได้ด้วยตนเองโดยตรงและแนวคิดระบบความเป็นผู้แทนของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการมอบหมายอำนาจให้กับผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งมาเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครอง ซิเยแย็สได้ปกป้องแนวคิดการปกครองโดยผู้แทน (representative government) เพราะเขามองว่าเป็นแนวคิดที่เหมาะสมต่อเงื่อนไขของการเป็นสังคมการค้า (commercial societies) ที่ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ครอบครองปัจจัยและการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ผู้แทนทางการเมือง (political representatives) ควรเป็นตัวแทนผลประโยชน์ร่วมของชาติ (nation’s common interests) ไม่ใช่ตัวแทนผลประโยชน์ที่หลากหลายของสมาชิก | สำหรับพัฒนาการของสถาบันการเมืองแบบตัวแทนที่สะท้อนแนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย สามารถศึกษาผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญและองค์กรผู้ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติที่จะมุ่งกำหนดหน้าที่ของผู้แทนราษฎรไว้ว่าควรเป็นแบบได้รับมอบหมาย ตัวอย่างเช่น ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 และการตรารัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1791 ที่ถือว่า '''“ผู้แทนจังหวัดทั้งหลาย ถือว่าเป็นผู้แทนของชาติโดยทั้งหมด”'''[[#_ftn8|[8]]] หรือแนวคิดการออกแบบรัฐธรรมนูญอเมริกันที่ได้สถาปนาระบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (federal government) นักคิดและนักปรัชญาอย่างแอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส (Emmanuel Joseph Sieyès) ต่อรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส และเจมส์ เมดิสัน (James Madison) ต่อรัฐธรรมนูญอเมริกันมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอกรอบมโนทัศน์ทางการเมืองและสถาบันแบบสมัยใหม่เกี่ยวกับความเป็นผู้แทนทางการเมืองและเศรษฐกิจ และแสดงให้เห็นว่าความเป็นตัวแทนในการปกครองแบบตัวแทนที่มีความแตกต่างจากแนวคิดประชาธิปไตย (โดยเฉพาะประชาธิปไตยทางตรง) ในงานชื่อ ''Qu’est-ce que le Tiers-E´ tat? (What Is the Third Estate?)'' ของซีเยแย็ส เสนอว่าความแตกต่างระหว่างแนวคิดประชาธิปไตยที่มองว่าประชาชาชนสามารถตัดสินใจออกกฎหมายได้ด้วยตนเองโดยตรงและแนวคิดระบบความเป็นผู้แทนของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการมอบหมายอำนาจให้กับผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งมาเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครอง ซิเยแย็สได้ปกป้องแนวคิดการปกครองโดยผู้แทน (representative government) เพราะเขามองว่าเป็นแนวคิดที่เหมาะสมต่อเงื่อนไขของการเป็นสังคมการค้า (commercial societies) ที่ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ครอบครองปัจจัยและการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ผู้แทนทางการเมือง (political representatives) ควรเป็นตัวแทนผลประโยชน์ร่วมของชาติ (nation’s common interests) ไม่ใช่ตัวแทนผลประโยชน์ที่หลากหลายของสมาชิก ขณะที่เมดิสันเสนอว่าความเป็นผู้แทนทางการเมืองไม่ได้เป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับการปกครองโดยประชาชนที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความจำเป็นด้านขนาดและความซับซ้อนของรัฐสมัยใหม่ขนาดใหญ่ เมดิสันเสนอว่าความเป็นผู้แทนมีความแตกต่างเชิงสาระและการเป็นระบบที่เหนือกว่า เพราะจะยกระดับการสร้างการตัดสินใจที่ดี (good judgement) ในทางการเมืองและก้าวข้ามอันตรายของการแบ่งข้างทางการเมือง[[#_ftn9|[9]]] | ||
นอกจากนี้ ซีเยแย็สได้พัฒนาทฤษฎีความเป็นผู้แทนที่กล่าวอ้างอิงถึงการสมาคมของมนุษย์ในยุคสมัยใหม่ในเรื่องการแบ่งแยกแรงงาน (division of labour) และความสัมพันธ์ระหว่างการแบ่งแยกแรงงานกับการเพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะ (specialization) และความเป็นตัวแทน (representation) โดยแบ่งแนวคิดความเป็นผู้แทนออกเป็นสองลักษณะ คือ <u>หนึ่ง</u> ''ความเป็นผู้แทนสามารถปรากฏได้ในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองในชีวิตประจำวัน (the non-political activities of everyday life.)'' ซิเยแย็สยกตัวอย่างเปรียบเทียบเกี่ยวกับช่างทำรองเท้าว่าถ้าหากพวกเขาเป็นตัวแทนของเรา (ในการทำรองเท้า) ช่างทำรองเท้ากำลังเป็นตัวแทนเราในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของทั้งช่างทำรองเท้าและจากเราเองในการทำรองเท้าให้สามารถใช้งานตามความจำเป็นเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อความต้องการของเรา นอกจากนี้การใช้ประโยชน์จากผู้แทนที่จะนำศักยภาพของเราไปทำรองเท้าของเราเอง จะช่วยให้เราสามารถลดเวลาและความพยายามในการเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับเรื่องที่จำเป็นเพื่อป้องกันเท้าของเราและทำให้เรามีอิสระในการไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน ซิเยแย็สมองว่าการแบ่งแยกแรงงานและการเข้าไปสมาคมในกลุ่มผู้แทนเสียงส่วนมากจะช่วยเพิ่มความรื่นรมณ์ในชีวิตของประชาชนและเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในการพัฒนาศิลปะและวิทยาศาสตร์ และพัฒนาการสมาคมกันของมนุษย์อย่างยั่งยืนในท้ายที่สุด และ <u>สอง</u>''ความเป็นผู้แทนสามารถปรากฏได้ในสังคมการเมือง | นอกจากนี้ ซีเยแย็สได้พัฒนาทฤษฎีความเป็นผู้แทนที่กล่าวอ้างอิงถึงการสมาคมของมนุษย์ในยุคสมัยใหม่ในเรื่องการแบ่งแยกแรงงาน (division of labour) และความสัมพันธ์ระหว่างการแบ่งแยกแรงงานกับการเพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะ (specialization) และความเป็นตัวแทน (representation) โดยแบ่งแนวคิดความเป็นผู้แทนออกเป็นสองลักษณะ คือ <u>หนึ่ง</u> ''ความเป็นผู้แทนสามารถปรากฏได้ในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองในชีวิตประจำวัน (the non-political activities of everyday life.)'' ซิเยแย็สยกตัวอย่างเปรียบเทียบเกี่ยวกับช่างทำรองเท้าว่าถ้าหากพวกเขาเป็นตัวแทนของเรา (ในการทำรองเท้า) ช่างทำรองเท้ากำลังเป็นตัวแทนเราในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของทั้งช่างทำรองเท้าและจากเราเองในการทำรองเท้าให้สามารถใช้งานตามความจำเป็นเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อความต้องการของเรา นอกจากนี้การใช้ประโยชน์จากผู้แทนที่จะนำศักยภาพของเราไปทำรองเท้าของเราเอง จะช่วยให้เราสามารถลดเวลาและความพยายามในการเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับเรื่องที่จำเป็นเพื่อป้องกันเท้าของเราและทำให้เรามีอิสระในการไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน ซิเยแย็สมองว่าการแบ่งแยกแรงงานและการเข้าไปสมาคมในกลุ่มผู้แทนเสียงส่วนมากจะช่วยเพิ่มความรื่นรมณ์ในชีวิตของประชาชนและเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในการพัฒนาศิลปะและวิทยาศาสตร์ และพัฒนาการสมาคมกันของมนุษย์อย่างยั่งยืนในท้ายที่สุด และ <u>สอง</u> ''ความเป็นผู้แทนสามารถปรากฏได้ในสังคมการเมือง'' ''(political society)'' อันหมายถึงสมาชิกรัฐสภาที่เป็นผู้แทนทางการเมืองของประชาชน ซิเยแย็สเสนอว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วสมาชิกรัฐสภาเป็นตัวแทนของรัฐมากกว่าเป็นตัวแทนของประชาชนเป็นการเฉพาะ จากแนวคิดความเป็นผู้แทนทั้งสองแบบของซิเยแย็สสะท้อนถึงการมีเป้าหมายร่วมกันของแนวคิดนี้ คือ การมีใครสักคนทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงหรือบรรลุความต้องการของประชาชนและปล่อยให้ประชาชนสามารถไปทำภารกิจอื่นแทน เหมือนการมีช่างทำรองเท้าเป็นตัวแทนในการทำรองเท้าให้กับเราและทำให้เรามีอิสระไปทำเรื่องอื่น (แทนที่จะมาทำรองเท้าเอง) เช่นเดียวกับการมีนักการเมืองอาชีพ (professional politicians) มาทำหน้าที่แทนเราในชีวิตทางการเมือง อย่างไรก็ตามความแตกต่างของการทำหน้าที่ตัวแทนของสองแนวคิด คือ ความเป็นผู้แทนในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองมีลักษณะที่แตกต่างหลากหลายประเด็นและเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคนจะใช้เพื่อบรรลุถึงความต้องการของปัจเจกบบุคคลเป็นการเฉพาะ ขณะที่ผู้แทนทางการเมืองจะมีลักษณะที่เป็นเอกพจน์อันเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ปัจเจกบุคคลจะใช้เพื่อบรรลุความต้องการทางการเมือง[[#_ftn10|[10]]] ข้อเสนอของซิแยแย็สจึงมีลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายที่ต้องมีผู้แทนเพื่อทำหน้าที่แทนเราทั้งในทางชีวิตนอกวงการเมืองและในโลกการเมือง | ||
| | ||
บรรทัดที่ 32: | บรรทัดที่ 32: | ||
การทำให้ผู้แทนทางการเมืองทำหน้าที่แบบได้รับมอบหมายมีนักวิชาการที่เสนอว่าเป็นเรื่องจำเป็นเพราะผู้แทนที่สามารถใช้ความคิดไตร่ตรองต่อประเด็นทางสาธารณะช่วยในการจัดการผลประโยชน์ (interest) และความปรารถนา (desire) ของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง เจ โรแลนด์ เพนน็อก (J. Roland Pennock) เสนอว่าผู้แทนทางการเมืองมีหน้าที่ที่กระทำการแทนผู้ที่ถูกแทน/สิ่งที่ถูกแทนในสองเรื่องคือผลประโยชน์และความปรารถนา โดยเพนน็อกเสนอว่าความปรารถนาเป็นความต้องการที่เกิดอย่างฉับพลันและเฉพาะหน้า แตกต่างจากผลประโยชน์ที่ต้องอาศัยการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน ดังนั้นความปรารถนาจึงต้องได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วเฉพาะหน้าเมื่อมันเกิดขึ้น ขณะที่ผลประโยชน์ต้องอาศัยการตอบสนองที่คำนึงถึงคุณประโยชน์ในระยะยาว[[#_ftn13|[13]]] ตัวอย่างเช่น หากมีโครงการตัดถนนบริเวณหน้าบ้านของเรา เราในฐานะเจ้าบ้านอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องปรารถนาที่บ้านและที่ดินของเราจะมีถนนตัดผ่านและมูลค่าที่ดินจะสูงขึ้นในเวลาอันสั้น แต่หากพิจารณาถึงผลประโยชน์ในระยะยาวก็ต้องไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนว่าการตัดถนนเส้นดังกล่าวก่อให้เกิดผลประโยชน์ระยะยาวหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดประโยชน์ก็ได้หากถนนเส้นนี้ก่อให้เกิดการคมนาคมที่สะดวกและขยายมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่อาจกลายเป็นโทษหากถนนเส้นนี้ถูกผลักดันขึ้นจากผู้มีอิทธิพลที่ต้องการให้ที่ดินตัวเองมีมูลค่าสูงขึ้นจากการมีถนนตัดผ่านแม้ว่าถนนเส้นนี้จะได้รับการประเมินว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจต่ำ เป็นต้น จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าปมปัญหาของการมีผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายอาจช่วยให้เกิดการไตร่ตรองในการจัดการผลประโยชน์ภาพรวมเพื่อผู้ออกเสียงเลือกตั้งและพลเมืองโดยรวม มากกว่าความปรารถนาเฉพาะหน้าในระยะสั้นของคน | การทำให้ผู้แทนทางการเมืองทำหน้าที่แบบได้รับมอบหมายมีนักวิชาการที่เสนอว่าเป็นเรื่องจำเป็นเพราะผู้แทนที่สามารถใช้ความคิดไตร่ตรองต่อประเด็นทางสาธารณะช่วยในการจัดการผลประโยชน์ (interest) และความปรารถนา (desire) ของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง เจ โรแลนด์ เพนน็อก (J. Roland Pennock) เสนอว่าผู้แทนทางการเมืองมีหน้าที่ที่กระทำการแทนผู้ที่ถูกแทน/สิ่งที่ถูกแทนในสองเรื่องคือผลประโยชน์และความปรารถนา โดยเพนน็อกเสนอว่าความปรารถนาเป็นความต้องการที่เกิดอย่างฉับพลันและเฉพาะหน้า แตกต่างจากผลประโยชน์ที่ต้องอาศัยการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน ดังนั้นความปรารถนาจึงต้องได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วเฉพาะหน้าเมื่อมันเกิดขึ้น ขณะที่ผลประโยชน์ต้องอาศัยการตอบสนองที่คำนึงถึงคุณประโยชน์ในระยะยาว[[#_ftn13|[13]]] ตัวอย่างเช่น หากมีโครงการตัดถนนบริเวณหน้าบ้านของเรา เราในฐานะเจ้าบ้านอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องปรารถนาที่บ้านและที่ดินของเราจะมีถนนตัดผ่านและมูลค่าที่ดินจะสูงขึ้นในเวลาอันสั้น แต่หากพิจารณาถึงผลประโยชน์ในระยะยาวก็ต้องไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนว่าการตัดถนนเส้นดังกล่าวก่อให้เกิดผลประโยชน์ระยะยาวหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดประโยชน์ก็ได้หากถนนเส้นนี้ก่อให้เกิดการคมนาคมที่สะดวกและขยายมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่อาจกลายเป็นโทษหากถนนเส้นนี้ถูกผลักดันขึ้นจากผู้มีอิทธิพลที่ต้องการให้ที่ดินตัวเองมีมูลค่าสูงขึ้นจากการมีถนนตัดผ่านแม้ว่าถนนเส้นนี้จะได้รับการประเมินว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจต่ำ เป็นต้น จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าปมปัญหาของการมีผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายอาจช่วยให้เกิดการไตร่ตรองในการจัดการผลประโยชน์ภาพรวมเพื่อผู้ออกเสียงเลือกตั้งและพลเมืองโดยรวม มากกว่าความปรารถนาเฉพาะหน้าในระยะสั้นของคน | ||
ทั้งนี้ แฮนนาห์ พิทกิน (Hanna Pitkin) นักรัฐศาสตร์และนักปรัชญาขาวอเมริกันยังเสนอว่าแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายจะช่วยคงรักษาความเป็นอิสระของผู้แทน (the autonomy of the representative) เพื่อให้ผู้แทนทั้งชายและหญิงสามารถสร้างการตัดสินใจบนฐานของความเข้าใจที่ตนเองมีต่อเรื่องผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ตนนำเสนอในนามของผู้ที่ถูกแทน/ผู้ออกเสียงเลือกตั้ง การรักษาไว้ซึ่งศักยภาพของู้แทนทางการเมืองให้กระทำการใด ๆ อย่างเป็นอิสระตามความปรารถนาของผู้ที่ถูกแทน ทั้งนี้พิทกินได้เน้นว่าแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทนและแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย ควรมีและใช้ในการนิยามความหมายผู้แทนทางการเมืองไปพร้อมกัน แม้ทั้งสองแนวคิดจะมีความแตกต่างทั้งในเชิงแนวคิดและลักษณะของผู้แทนที่เกิดขึ้นจริง[[#_ftn14|[14]]] นอกจากนี้พิทกินยังได้พัฒนาแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย จากแนวคิดความเป็นผู้แทนแบบทางการ | ทั้งนี้ แฮนนาห์ พิทกิน (Hanna Pitkin) นักรัฐศาสตร์และนักปรัชญาขาวอเมริกันยังเสนอว่าแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายจะช่วยคงรักษาความเป็นอิสระของผู้แทน (the autonomy of the representative) เพื่อให้ผู้แทนทั้งชายและหญิงสามารถสร้างการตัดสินใจบนฐานของความเข้าใจที่ตนเองมีต่อเรื่องผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ตนนำเสนอในนามของผู้ที่ถูกแทน/ผู้ออกเสียงเลือกตั้ง การรักษาไว้ซึ่งศักยภาพของู้แทนทางการเมืองให้กระทำการใด ๆ อย่างเป็นอิสระตามความปรารถนาของผู้ที่ถูกแทน ทั้งนี้พิทกินได้เน้นว่าแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทนและแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย ควรมีและใช้ในการนิยามความหมายผู้แทนทางการเมืองไปพร้อมกัน แม้ทั้งสองแนวคิดจะมีความแตกต่างทั้งในเชิงแนวคิดและลักษณะของผู้แทนที่เกิดขึ้นจริง[[#_ftn14|[14]]] นอกจากนี้พิทกินยังได้พัฒนาแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย จากแนวคิดความเป็นผู้แทนแบบทางการ (Formalistic Representation) ของพิทกินได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเชิงสถาบันที่จะเป็นแบบอย่างและริเริ่มความเป็นผู้แทนทางการเมืองที่ประกอบด้วย 2 มิติ คือ มิติการได้รับมอบอำนาจ (authorization) และมิติความพร้อมรับผิด (accountability) ในมิติการได้รับมอบอำนาจพัฒนาจากแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย โดยพิจารณาถึงวิธีการที่ผู้แทนทางการเมืองได้รับมอบสถานะ จุดยืน หรือตำแหน่งทางสาธารณะ โดยมีโจทย์สำคัญสองประการ คือ <u>หนึ่ง</u> ''อะไรคือกระบวนการที่ทำให้ผู้แทนทางการเมืองได้มาซึ่งอำนาจ'' และ <u>สอง</u> ''อะไรคือวิถีทางที่ผู้แทนทางการเมืองสามารถบังคับใช้การตัดสินใจของตนเองได้'' อย่างไรก็ตามเกณฑ์การประเมินตัวผู้แทนทางการเมืองในมิติการได้รับมอบอำนาจยังไม่มีความเด่นชัดนัก แต่มักจะใช้การประเมินจากความชอบธรรมของผู้แทนในการเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นหลัก[[#_ftn15|[15]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | ||
Dovi, Suzanne. "Political Representation." The Stanford Encyclopedia of Philosophy 2018. Accessed 5 March, 2021. https://plato.stanford.edu/entries/freedom-speech/. | Dovi, Suzanne. "Political Representation." The Stanford Encyclopedia of Philosophy 2018. Accessed 5 March, 2021. [https://plato.stanford.edu/entries/freedom-speech/ https://plato.stanford.edu/entries/freedom-speech/]. | ||
Hamilton, Lawrence. Freedom Is Power: Liberty through Political Representation. London: Cambridge University Press, 2014. | Hamilton, Lawrence. Freedom Is Power: Liberty through Political Representation. London: Cambridge University Press, 2014. | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 52: | ||
[[#_ftnref1|[1]]] วนัส ปิยะกุลชัยเดช, และ เอกวีร์ มีสุข, แนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองและการปรับใช้ในการเมืองไทย (กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2566), 16. | [[#_ftnref1|[1]]] วนัส ปิยะกุลชัยเดช, และ เอกวีร์ มีสุข, แนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองและการปรับใช้ในการเมืองไทย (กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2566), 16. | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]] Suzanne Dovi, "Political Representation," The Stanford Encyclopedia of Philosophy 2018, accessed 5 March, 2021, https://plato.stanford.edu/entries/freedom-speech/. | [[#_ftnref2|[2]]] Suzanne Dovi, "Political Representation," The Stanford Encyclopedia of Philosophy 2018, accessed 5 March, 2021, [https://plato.stanford.edu/entries/freedom-speech/ https://plato.stanford.edu/entries/freedom-speech/]. | ||
</div> <div id="ftn3"> | </div> <div id="ftn3"> | ||
[[#_ftnref3|[3]]] Federico Russo, and Maurizio Cotta, "Chapter 1: Political Representation: Concepts, Theories and Practices in Historical Perspective," in Research Handbook on Political Representation, ed. Maurizio Cotta and Federico Russo (Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing, 2020), 3. | [[#_ftnref3|[3]]] Federico Russo, and Maurizio Cotta, "Chapter 1: Political Representation: Concepts, Theories and Practices in Historical Perspective," in Research Handbook on Political Representation, ed. Maurizio Cotta and Federico Russo (Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing, 2020), 3. | ||
บรรทัดที่ 80: | บรรทัดที่ 80: | ||
[[#_ftnref15|[15]]] Dovi | [[#_ftnref15|[15]]] Dovi | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง]][[Category:การเลือกตั้ง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] | [[Category:ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง]] [[Category:การเลือกตั้ง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:48, 31 สิงหาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : เอกวีร์ มีสุข
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย (trustee) หมายถึง ผู้แทนที่ได้รับอำนาจมอบหมายจากพลเมืองในเขตเลือกตั้งของตนในการคิดและตัดสินใจในกิจการบ้านเมืองและประเด็นทางสาธารณะ ผู้แทนสามารถอาศัยเหตุผลของตนเองเพื่อไตร่ตรองว่าสิ่งใดคือผลประโยชน์สาธารณะ โดยผลประโยชน์ในกรณีนี้จะครอบคลุมถึงผลประโยชน์ของคนทั่วไปทั้งประเทศและรวมถึงผู้ออกเสียงเลือกตั้งเลือกในเขตเลือกตั้งของตนเองด้วย[1] กล่าวอีกนัยหนึ่ง การใช้เหตุผลของตัวผู้แทนเองในการตัดสินใจไม่จำเป็นต้องตรงกับความเห็นหรือผลประโยชน์ของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในช่วงขณะนั้น ถ้าการตัดสนิใจดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยรวม ทั้งนี้ ซูซาน โดวี (Suzanne Dovi) เสนอว่าผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายคือผู้ที่ยึดถือเอาความเข้าใจของตนเพื่อกระทำการใดที่ดีที่สุดในการแสวงหาสิ่งต่าง ๆ กรอบคิดแบบมอบหมายจึงเรียกร้องให้ผู้แทนต้องยึดตามวิจารณญาณการตัดสินใจของตนที่เกี่ยวกับชุดของการกระทำที่เหมาะสมนั่นเอง[2] ในการทำความเข้าใจแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย สามารถพิจารณาผ่านพัฒนาทางแนวคิดและองค์ประกอบของแนวคิดดังกล่าว
พัฒนาการและฐานคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย
แนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายมีพัฒนาการทางความคิดที่สามารถสืบย้อนไปถึงธรรมเนียมทางกฎหมายโรมันโบราณและกฎหมายกับธรรมเนียมในยุคกลาง เพื่อกำหนดวิถีปฏิบัติทางการเมืองและศาสนาของประชาชน (ผ่านผู้แทนในตำแหน่งต่าง ๆ อาทิ ทูต (ambassadors) หรือผู้แทนแบบตัวแทน (delegates) ที่จะเป็นตัวแทนให้กับเมือง เจ้าที่ดิน ชุมชน หรือกลุ่มทางศาสนาเข้าไปทำงานในองค์กรเพื่อทำหน้าที่การตัดสินใจ (เช่น สภาท้องถิ่น หรือรัฐสภา)[3] โดยที่พัฒนาการของระบบกฎหมายและการปกครองของยุโรปได้นำเสนอแนวคิดและวิธีปฏิบัติของความเป็นผู้แทนทางการเมืองในสองลักษณะที่เติมเต็มซึ่งกันและกันคือ ผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทน_(delegation) และผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย (trustee)[4] สะท้อนได้จากการแบ่งแยกของ 1) แนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบมิติการให้คำสั่งหรือ instructions อันสะท้อนแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทน ที่ผู้แทนทางการเมืองต้องรับความเห็นของประชาชนในชุมชนเพื่อนำไปสะท้อนและถ่ายทอดยังที่ประชุมชนของการตัดสินใจ และ 2) แนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบมิติ plena potestas (the plena potestas of representatives) ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดและผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย อันหมายถึงความสามารถของผู้แทนที่สามารถตัดสินใจและรับรองว่าผลของการตัดสินใจของผู้แทนจะผูกพันกับชุมชนของผู้แทนคนนั้นด้วย[5] ในธรรมเนียมทางกฎหมายของยุคกลางได้พัฒนาแนวคิดและวิถีปฏิบัติสะท้อนแนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองในสองลักษณะข้างต้น แต่ในมิติแบบ plena potestas ที่องค์กรผู้มีอำนาจทั้งทางโลกและทางศาสนา ผู้แทนจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ใต้ปกครองให้สามารถมีการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ผู้แทนของชุมชนและที่ดินมีอำนาจในการแสดงจุดยืนและสร้างการตัดสินใจที่จะต้องผูกพันผลการตัดสินใจดังกล่าวต่อผู้ที่ถูกแทน (the represented)[6]
เอ็ดมันต์ เบิร์ก (Edmund Burke) เป็นนักคิดและนักปรัชญาชาวอังกฤษที่ให้มุมมองสนับสนุนแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายที่แตกต่างจากนักคิดท่านอื่นที่สนับสนุนแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทน เบิร์กให้ความสำคัญต่อบทบาทของผู้แทนที่ควรทำหน้าที่รับผิดชอบต่อประชาชนทั่วไปทั่งประเทศ ไม่ใช่แค่รับผิดชอบและทำหน้าที่เพียงสะท้อนความเห็นของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในเขตของตนเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้เบิร์กจึงมองว่ารัฐสภาในฐานะสถาบันทางการเมืองของความเป็นผู้แทนต้องทำหน้าที่เป็นเวทีของการไตร่ตรองถึงผลประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติ มิใช่เป็นที่ประชุมของเหล่าผู้แทนที่นำเสนอความคิดเห็นและความต้องการของผลประโยชน์ต่าง ๆ ผู้แทนที่ทำงานในสภาจึงควรเป็นผู้แทนของชาติไม่ใช่ผู้แทนของเขตเลือกตั้ง กล่าวคือ “แน่ละ คุณเลือกตัวแทน แต่เมื่อคุณเลือกเขา เขาผู้นั้นก็ไม่ใช่สมาชิกของบริสตอล แต่เป็นสมาชิกของรัฐสภา” (“You choose a member, indeed; but when you have chosen him he is not a member of Bristol, but he is a member of Parliament”)[7]
สำหรับพัฒนาการของสถาบันการเมืองแบบตัวแทนที่สะท้อนแนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย สามารถศึกษาผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญและองค์กรผู้ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติที่จะมุ่งกำหนดหน้าที่ของผู้แทนราษฎรไว้ว่าควรเป็นแบบได้รับมอบหมาย ตัวอย่างเช่น ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 และการตรารัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1791 ที่ถือว่า “ผู้แทนจังหวัดทั้งหลาย ถือว่าเป็นผู้แทนของชาติโดยทั้งหมด”[8] หรือแนวคิดการออกแบบรัฐธรรมนูญอเมริกันที่ได้สถาปนาระบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (federal government) นักคิดและนักปรัชญาอย่างแอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส (Emmanuel Joseph Sieyès) ต่อรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส และเจมส์ เมดิสัน (James Madison) ต่อรัฐธรรมนูญอเมริกันมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอกรอบมโนทัศน์ทางการเมืองและสถาบันแบบสมัยใหม่เกี่ยวกับความเป็นผู้แทนทางการเมืองและเศรษฐกิจ และแสดงให้เห็นว่าความเป็นตัวแทนในการปกครองแบบตัวแทนที่มีความแตกต่างจากแนวคิดประชาธิปไตย (โดยเฉพาะประชาธิปไตยทางตรง) ในงานชื่อ Qu’est-ce que le Tiers-E´ tat? (What Is the Third Estate?) ของซีเยแย็ส เสนอว่าความแตกต่างระหว่างแนวคิดประชาธิปไตยที่มองว่าประชาชาชนสามารถตัดสินใจออกกฎหมายได้ด้วยตนเองโดยตรงและแนวคิดระบบความเป็นผู้แทนของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการมอบหมายอำนาจให้กับผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งมาเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครอง ซิเยแย็สได้ปกป้องแนวคิดการปกครองโดยผู้แทน (representative government) เพราะเขามองว่าเป็นแนวคิดที่เหมาะสมต่อเงื่อนไขของการเป็นสังคมการค้า (commercial societies) ที่ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ครอบครองปัจจัยและการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ผู้แทนทางการเมือง (political representatives) ควรเป็นตัวแทนผลประโยชน์ร่วมของชาติ (nation’s common interests) ไม่ใช่ตัวแทนผลประโยชน์ที่หลากหลายของสมาชิก ขณะที่เมดิสันเสนอว่าความเป็นผู้แทนทางการเมืองไม่ได้เป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับการปกครองโดยประชาชนที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความจำเป็นด้านขนาดและความซับซ้อนของรัฐสมัยใหม่ขนาดใหญ่ เมดิสันเสนอว่าความเป็นผู้แทนมีความแตกต่างเชิงสาระและการเป็นระบบที่เหนือกว่า เพราะจะยกระดับการสร้างการตัดสินใจที่ดี (good judgement) ในทางการเมืองและก้าวข้ามอันตรายของการแบ่งข้างทางการเมือง[9]
นอกจากนี้ ซีเยแย็สได้พัฒนาทฤษฎีความเป็นผู้แทนที่กล่าวอ้างอิงถึงการสมาคมของมนุษย์ในยุคสมัยใหม่ในเรื่องการแบ่งแยกแรงงาน (division of labour) และความสัมพันธ์ระหว่างการแบ่งแยกแรงงานกับการเพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะ (specialization) และความเป็นตัวแทน (representation) โดยแบ่งแนวคิดความเป็นผู้แทนออกเป็นสองลักษณะ คือ หนึ่ง ความเป็นผู้แทนสามารถปรากฏได้ในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองในชีวิตประจำวัน (the non-political activities of everyday life.) ซิเยแย็สยกตัวอย่างเปรียบเทียบเกี่ยวกับช่างทำรองเท้าว่าถ้าหากพวกเขาเป็นตัวแทนของเรา (ในการทำรองเท้า) ช่างทำรองเท้ากำลังเป็นตัวแทนเราในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของทั้งช่างทำรองเท้าและจากเราเองในการทำรองเท้าให้สามารถใช้งานตามความจำเป็นเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อความต้องการของเรา นอกจากนี้การใช้ประโยชน์จากผู้แทนที่จะนำศักยภาพของเราไปทำรองเท้าของเราเอง จะช่วยให้เราสามารถลดเวลาและความพยายามในการเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับเรื่องที่จำเป็นเพื่อป้องกันเท้าของเราและทำให้เรามีอิสระในการไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน ซิเยแย็สมองว่าการแบ่งแยกแรงงานและการเข้าไปสมาคมในกลุ่มผู้แทนเสียงส่วนมากจะช่วยเพิ่มความรื่นรมณ์ในชีวิตของประชาชนและเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในการพัฒนาศิลปะและวิทยาศาสตร์ และพัฒนาการสมาคมกันของมนุษย์อย่างยั่งยืนในท้ายที่สุด และ สอง ความเป็นผู้แทนสามารถปรากฏได้ในสังคมการเมือง (political society) อันหมายถึงสมาชิกรัฐสภาที่เป็นผู้แทนทางการเมืองของประชาชน ซิเยแย็สเสนอว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วสมาชิกรัฐสภาเป็นตัวแทนของรัฐมากกว่าเป็นตัวแทนของประชาชนเป็นการเฉพาะ จากแนวคิดความเป็นผู้แทนทั้งสองแบบของซิเยแย็สสะท้อนถึงการมีเป้าหมายร่วมกันของแนวคิดนี้ คือ การมีใครสักคนทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงหรือบรรลุความต้องการของประชาชนและปล่อยให้ประชาชนสามารถไปทำภารกิจอื่นแทน เหมือนการมีช่างทำรองเท้าเป็นตัวแทนในการทำรองเท้าให้กับเราและทำให้เรามีอิสระไปทำเรื่องอื่น (แทนที่จะมาทำรองเท้าเอง) เช่นเดียวกับการมีนักการเมืองอาชีพ (professional politicians) มาทำหน้าที่แทนเราในชีวิตทางการเมือง อย่างไรก็ตามความแตกต่างของการทำหน้าที่ตัวแทนของสองแนวคิด คือ ความเป็นผู้แทนในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองมีลักษณะที่แตกต่างหลากหลายประเด็นและเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคนจะใช้เพื่อบรรลุถึงความต้องการของปัจเจกบบุคคลเป็นการเฉพาะ ขณะที่ผู้แทนทางการเมืองจะมีลักษณะที่เป็นเอกพจน์อันเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ปัจเจกบุคคลจะใช้เพื่อบรรลุความต้องการทางการเมือง[10] ข้อเสนอของซิแยแย็สจึงมีลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายที่ต้องมีผู้แทนเพื่อทำหน้าที่แทนเราทั้งในทางชีวิตนอกวงการเมืองและในโลกการเมือง
องค์ประกอบของผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย
แนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายโดยมีคุณลักษณะสำคัญ 2 ประการ ได้แก่[11]
1) ความรับผิดชอบและบทบาทของผู้แทนแบบได้รับมอบหมาย ผู้แทนจะต้องมีหน้าที่รับฟังความเห็นความต้องการของพลเมืองในเขตเลือกตั้งของตนและต้องใช้มโนสำนึกไตร่ตรองว่าสิ่งใดคือผลประโยชน์ของประเทศ และตัดสินใจตามสิ่งที่ตนไตร่ตรองแล้ว การตัดสินใจสาธารณะที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลจากกระบวนการรับฟังและการไตร่ตรอง แม้ว่าผู้แทนเหล่านี้จุดเริ่มต้นจะมาจากการเลือกตั้งของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งของตน แต่ผู้แทนจะไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ถ่ายทอดความคิดและผลประโยชน์ของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในเขตของตน แต่จะอาศัยความเห็นและความต้องการของผู้ออกเสียงเลือกตั้งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการไตร่ตรองและการต่อรองเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในประเด็นสาธารณะ
2) การให้ความสำคัญกับมโนธรรมสำนึกและการไตร่ตรองของผู้แทน แนวคิดนี้เห็นว่าหากผู้แทนใช้มโนธรรมและการไตร่ตรองอย่างแท้จริงแล้ว การไม่ทำตามความต้องการหรือผลประโยชน์ของพลเมืองในเขตเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ก่อให้เกิดปัญหาผู้แทนที่มีอำนาจทางการเมืองแต่ปราศจากความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างผู้แทนกับพลเมืองในเขตเลือกตั้ง เนื่องจากการไม่ทำตามดังกล่าวไม่สามารถเป็นมูลเหตุของการถอดถอนหรือควบคุมพฤติกรรมของผู้แทน จนทำให้ผู้แทนเสมือนมีอิสระจากพลเมืองในเขตเลือกตั้งของตนหลังจากที่ได้รับเลือกแล้ว[12]
การทำให้ผู้แทนทางการเมืองทำหน้าที่แบบได้รับมอบหมายมีนักวิชาการที่เสนอว่าเป็นเรื่องจำเป็นเพราะผู้แทนที่สามารถใช้ความคิดไตร่ตรองต่อประเด็นทางสาธารณะช่วยในการจัดการผลประโยชน์ (interest) และความปรารถนา (desire) ของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง เจ โรแลนด์ เพนน็อก (J. Roland Pennock) เสนอว่าผู้แทนทางการเมืองมีหน้าที่ที่กระทำการแทนผู้ที่ถูกแทน/สิ่งที่ถูกแทนในสองเรื่องคือผลประโยชน์และความปรารถนา โดยเพนน็อกเสนอว่าความปรารถนาเป็นความต้องการที่เกิดอย่างฉับพลันและเฉพาะหน้า แตกต่างจากผลประโยชน์ที่ต้องอาศัยการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน ดังนั้นความปรารถนาจึงต้องได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วเฉพาะหน้าเมื่อมันเกิดขึ้น ขณะที่ผลประโยชน์ต้องอาศัยการตอบสนองที่คำนึงถึงคุณประโยชน์ในระยะยาว[13] ตัวอย่างเช่น หากมีโครงการตัดถนนบริเวณหน้าบ้านของเรา เราในฐานะเจ้าบ้านอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องปรารถนาที่บ้านและที่ดินของเราจะมีถนนตัดผ่านและมูลค่าที่ดินจะสูงขึ้นในเวลาอันสั้น แต่หากพิจารณาถึงผลประโยชน์ในระยะยาวก็ต้องไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนว่าการตัดถนนเส้นดังกล่าวก่อให้เกิดผลประโยชน์ระยะยาวหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดประโยชน์ก็ได้หากถนนเส้นนี้ก่อให้เกิดการคมนาคมที่สะดวกและขยายมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่อาจกลายเป็นโทษหากถนนเส้นนี้ถูกผลักดันขึ้นจากผู้มีอิทธิพลที่ต้องการให้ที่ดินตัวเองมีมูลค่าสูงขึ้นจากการมีถนนตัดผ่านแม้ว่าถนนเส้นนี้จะได้รับการประเมินว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจต่ำ เป็นต้น จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าปมปัญหาของการมีผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายอาจช่วยให้เกิดการไตร่ตรองในการจัดการผลประโยชน์ภาพรวมเพื่อผู้ออกเสียงเลือกตั้งและพลเมืองโดยรวม มากกว่าความปรารถนาเฉพาะหน้าในระยะสั้นของคน
ทั้งนี้ แฮนนาห์ พิทกิน (Hanna Pitkin) นักรัฐศาสตร์และนักปรัชญาขาวอเมริกันยังเสนอว่าแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมายจะช่วยคงรักษาความเป็นอิสระของผู้แทน (the autonomy of the representative) เพื่อให้ผู้แทนทั้งชายและหญิงสามารถสร้างการตัดสินใจบนฐานของความเข้าใจที่ตนเองมีต่อเรื่องผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ตนนำเสนอในนามของผู้ที่ถูกแทน/ผู้ออกเสียงเลือกตั้ง การรักษาไว้ซึ่งศักยภาพของู้แทนทางการเมืองให้กระทำการใด ๆ อย่างเป็นอิสระตามความปรารถนาของผู้ที่ถูกแทน ทั้งนี้พิทกินได้เน้นว่าแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทนและแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย ควรมีและใช้ในการนิยามความหมายผู้แทนทางการเมืองไปพร้อมกัน แม้ทั้งสองแนวคิดจะมีความแตกต่างทั้งในเชิงแนวคิดและลักษณะของผู้แทนที่เกิดขึ้นจริง[14] นอกจากนี้พิทกินยังได้พัฒนาแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย จากแนวคิดความเป็นผู้แทนแบบทางการ (Formalistic Representation) ของพิทกินได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเชิงสถาบันที่จะเป็นแบบอย่างและริเริ่มความเป็นผู้แทนทางการเมืองที่ประกอบด้วย 2 มิติ คือ มิติการได้รับมอบอำนาจ (authorization) และมิติความพร้อมรับผิด (accountability) ในมิติการได้รับมอบอำนาจพัฒนาจากแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย โดยพิจารณาถึงวิธีการที่ผู้แทนทางการเมืองได้รับมอบสถานะ จุดยืน หรือตำแหน่งทางสาธารณะ โดยมีโจทย์สำคัญสองประการ คือ หนึ่ง อะไรคือกระบวนการที่ทำให้ผู้แทนทางการเมืองได้มาซึ่งอำนาจ และ สอง อะไรคือวิถีทางที่ผู้แทนทางการเมืองสามารถบังคับใช้การตัดสินใจของตนเองได้ อย่างไรก็ตามเกณฑ์การประเมินตัวผู้แทนทางการเมืองในมิติการได้รับมอบอำนาจยังไม่มีความเด่นชัดนัก แต่มักจะใช้การประเมินจากความชอบธรรมของผู้แทนในการเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นหลัก[15]
บรรณานุกรม
Dovi, Suzanne. "Political Representation." The Stanford Encyclopedia of Philosophy 2018. Accessed 5 March, 2021. https://plato.stanford.edu/entries/freedom-speech/.
Hamilton, Lawrence. Freedom Is Power: Liberty through Political Representation. London: Cambridge University Press, 2014.
Russo, Federico, and Maurizio Cotta. "Chapter 1: Political Representation: Concepts, Theories and Practices in Historical Perspective." In Research Handbook on Political Representation. Edited by Maurizio Cotta and Federico Russo. Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing, 2020.
วนัส ปิยะกุลชัยเดช, และ เอกวีร์ มีสุข. แนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองและการปรับใช้ในการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2566.
อ้างอิง
[1] วนัส ปิยะกุลชัยเดช, และ เอกวีร์ มีสุข, แนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองและการปรับใช้ในการเมืองไทย (กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2566), 16.
[2] Suzanne Dovi, "Political Representation," The Stanford Encyclopedia of Philosophy 2018, accessed 5 March, 2021, https://plato.stanford.edu/entries/freedom-speech/.
[3] Federico Russo, and Maurizio Cotta, "Chapter 1: Political Representation: Concepts, Theories and Practices in Historical Perspective," in Research Handbook on Political Representation, ed. Maurizio Cotta and Federico Russo (Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing, 2020), 3.
[4] ดูในคำอธิบายผู้แทนทางการเมืองแบบได้รับมอบหมาย (trustee) หรือดูข้อถกเถียงของแนวคิดผู้แทนทางการเมืองแบบตัวแทนและแบบได้รับมอบหมายใน Dovi
[5] Russo, and Cotta, in Research Handbook on Political Representation, 3-4.
[6] Russo, and Cotta, in Research Handbook on Political Representation, 4.
[7] วนัส ปิยะกุลชัยเดช, และ เอกวีร์ มีสุข, 31-32. และ Dovi
[8] วนัส ปิยะกุลชัยเดช, และ เอกวีร์ มีสุข, 32.
[9] Lawrence Hamilton, Freedom Is Power: Liberty through Political Representation (London: Cambridge University Press, 2014), 108-10.
[10] Hamilton, 109-10.
[11] วนัส ปิยะกุลชัยเดช, และ เอกวีร์ มีสุข, น. 49-50.
[12] วนัส ปิยะกุลชัยเดช, และ เอกวีร์ มีสุข, 52-55.
[13] วนัส ปิยะกุลชัยเดช, และ เอกวีร์ มีสุข, 28.
[14] Dovi
[15] Dovi