ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย : สเปน"
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง ''':''' ณัชชาภัทร อมรกุล '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจ..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
ผู้เรียบเรียง ''':''' ณัชชาภัทร อมรกุล | '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ณัชชาภัทร อมรกุล | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ | ||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
| | ||
'''ราชอาณาจักรสเปน'''เป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรปบนคาบสมุทรไอบีเรีย ทิศเหนือติดกับทะเลกันตาบริโก ราชรัฐอันดอร์รา และประเทศฝรั่งเศส ทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทิศใต้ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบยิบรอลต้า และมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตก อยู่ติดประเทศโปรตุเกสและมหาสมุทรแอตแลนติก มีเนื้อที่ 506,030 ตารางกิโลเมตร เนื้อที่ของประเทศสเปนแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนใหญ่ที่เป็นคาบสมุทรและส่วนที่เป็นหมู่เกาะและดินแดนอื่นที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลสเปน (Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers, 2023) | '''ราชอาณาจักรสเปน '''เป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรปบนคาบสมุทรไอบีเรีย ทิศเหนือติดกับทะเลกันตาบริโก ราชรัฐอันดอร์รา และประเทศฝรั่งเศส ทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทิศใต้ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบยิบรอลต้า และมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตก อยู่ติดประเทศโปรตุเกสและมหาสมุทรแอตแลนติก มีเนื้อที่ 506,030 ตารางกิโลเมตร เนื้อที่ของประเทศสเปนแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนใหญ่ที่เป็นคาบสมุทรและส่วนที่เป็นหมู่เกาะและดินแดนอื่นที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลสเปน (Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers, 2023) | ||
สเปนเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่ออารยธรรมของโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เป็นประเทศแรกที่สนับสนุนการเดินทางไกลทางทะเลจนค้นพบทวีปอเมริกาเหนือและใต้ นับเป็นการเริ่มต้นของการแสวงหาอาณานิคมในอเมริกาของยุโรป ทำให้อิทธิพลของศิลปะวัฒนธรรม ภาษาและจิตวิญญาณแห่งชนชาติสเปนได้ถูกส่งต่อไปทั่วโลก โดยเฉพาะในอเมริกาใต้และแม้กระทั่งฟิลิปปินส์ในยุคสมัยหนึ่งสเปนเป็นเจ้าโลกทางทะเล มีกองเรืออาร์มาดาที่ลือเลื่องกันว่าแข็งแกร่งที่สุดในโลก ปัจจุบันสเปนมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (constitutional monarchy) | สเปนเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่ออารยธรรมของโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เป็นประเทศแรกที่สนับสนุนการเดินทางไกลทางทะเลจนค้นพบทวีปอเมริกาเหนือและใต้ นับเป็นการเริ่มต้นของการแสวงหาอาณานิคมในอเมริกาของยุโรป ทำให้อิทธิพลของศิลปะวัฒนธรรม ภาษาและจิตวิญญาณแห่งชนชาติสเปนได้ถูกส่งต่อไปทั่วโลก โดยเฉพาะในอเมริกาใต้และแม้กระทั่งฟิลิปปินส์ในยุคสมัยหนึ่งสเปนเป็นเจ้าโลกทางทะเล มีกองเรืออาร์มาดาที่ลือเลื่องกันว่าแข็งแกร่งที่สุดในโลก ปัจจุบันสเปนมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (constitutional monarchy) | ||
บรรทัดที่ 44: | บรรทัดที่ 44: | ||
แต่เหตุการณ์ที่เขาไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น โดยใน ค.ศ. 1973 นายพลหลุยส์ การ์เรโร บลังโก นายทหารและคนสนิทและมือขวาที่ยาวนานของนายพลฟรังโก ถูกลอบสังหารจากกลุ่ม ETA ทำให้ระบอบฟรังโกขาดทายาททางการเมืองไปอย่างกะทันหัน หลังจากนั้นก็ได้เกิดกลุ่มต่อต้านนายพลฟรังโกและระบอบฟรังโก ซึ่งประกอบด้วย แรงงาน กลุ่มชาตินิยม คาตาลัน และบาสก์ นักศึกษา ชนชั้นกลาง ชนชั้นนำ คริสตจักร กลุ่มนิยมเจ้า กฎหมายสืบบัลลังก์ เพราะชนชั้นนำเริ่มตระหนักว่าระบบเผด็จการเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและสเปนต้องการเข้าประชาคมยุโรป คริสตจักรที่เคยสนับสนุนฟรังโกออกมาขอโทษชาวสเปนที่เคยสนับสนุนฟรังโก การถูกปฏิเสธจากศาสนจักรยิ่งทำให้ระบบฟรังโกสั่นคลอนมากขึ้น (นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์, 2565) | แต่เหตุการณ์ที่เขาไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น โดยใน ค.ศ. 1973 นายพลหลุยส์ การ์เรโร บลังโก นายทหารและคนสนิทและมือขวาที่ยาวนานของนายพลฟรังโก ถูกลอบสังหารจากกลุ่ม ETA ทำให้ระบอบฟรังโกขาดทายาททางการเมืองไปอย่างกะทันหัน หลังจากนั้นก็ได้เกิดกลุ่มต่อต้านนายพลฟรังโกและระบอบฟรังโก ซึ่งประกอบด้วย แรงงาน กลุ่มชาตินิยม คาตาลัน และบาสก์ นักศึกษา ชนชั้นกลาง ชนชั้นนำ คริสตจักร กลุ่มนิยมเจ้า กฎหมายสืบบัลลังก์ เพราะชนชั้นนำเริ่มตระหนักว่าระบบเผด็จการเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและสเปนต้องการเข้าประชาคมยุโรป คริสตจักรที่เคยสนับสนุนฟรังโกออกมาขอโทษชาวสเปนที่เคยสนับสนุนฟรังโก การถูกปฏิเสธจากศาสนจักรยิ่งทำให้ระบบฟรังโกสั่นคลอนมากขึ้น (นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์, 2565) | ||
พระเจ้าฮวน | พระเจ้าฮวน คาร์ลอส ต้องการให้ประเทศเปลี่ยนผ่านไปเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงนำไปสู่การทำ[[ประชามติ|ประชามติ]]และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญสเปน ค.ศ. 1978 โดยเป็นการสร้างระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พระองค์ยังเป็นผู้แสดงบทบาทหลักในการป้องกันความพยายามรัฐประหารที่เกิดขึ้นมาภายหลังจากนั้นอีกด้วย บทบาทของสถาบันกษัตริย์ จึงเข้ามามีความสำคัญในตอนนี้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสถาบันทางการเมืองที่มั่นคงและมีรากฐานมายาวนาน พระองค์เป็นความหวังว่าจะสามารถกู้คืนความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมาได้ พระองค์กลายเป็นความหวังเดียวท่ามกลางความรู้สึกไม่แน่ใจและไม่ไว้ใจของประชาชนว่าจะยอมอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการต่อไปหรือจะปฏิรูปเปลี่ยนผ่านให้เป็นประชาธิปไตย แม้ว่าพระองค์จะเป็นผู้ที่ถูกเลือกมาจากระบอบฟรังโกแต่ทรงเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของกษัตริย์องค์ก่อน ๆ ทรงเข้าใจและจับกระแสความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของประชาชน พระองค์จึงเปลี่ยนแปลงจากการเป็นกษัตริย์ของระบอบฟรังโก มาเป็น '''“กษัตริย์ของชาวสเปนทุกคน”''' การสถาปนาประชาธิปไตยจึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่เกิดขึ้นควบคู่กับการกอบกู้สถาบันพระมหากษัตริย์ (นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์, 2565) | ||
| | ||
บรรทัดที่ 70: | บรรทัดที่ 70: | ||
นอกจากนี้ยังเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่จะ | นอกจากนี้ยังเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่จะ | ||
'' | '' - มอบตำแหน่งพลเรือนและการทหาร ตลอดจนรางวัลเกียรติยศและความแตกต่าง (มาตรา 62 f)'' | ||
'' - ใช้อำนาจบังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพ (มาตรา 62 f)'' | '' - ใช้อำนาจบังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพ (มาตรา 62 f)'' | ||
บรรทัดที่ 84: | บรรทัดที่ 84: | ||
กษัตริย์เป็นผู้ชี้ขาดและกลั่นกรองการทำงานปกติของสถาบันและด้วยเหตุนี้ กษัตริย์จึงมีหน้าที่ | กษัตริย์เป็นผู้ชี้ขาดและกลั่นกรองการทำงานปกติของสถาบันและด้วยเหตุนี้ กษัตริย์จึงมีหน้าที่ | ||
'' | '' - เปิดและยุบสภา และกำหนดให้มีการเลือกตั้ง (มาตรา 62 b)'' | ||
'' - รับรองให้มีการทำประชามติ (มาตรา 62c)'' | '' - รับรองให้มีการทำประชามติ (มาตรา 62c)'' | ||
บรรทัดที่ 96: | บรรทัดที่ 96: | ||
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แทนสูงสุดของสเปนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงมีหน้าที่ | พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แทนสูงสุดของสเปนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงมีหน้าที่ | ||
'' | '' - รับรองเอกอัครราชทูตและผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ แสดงความยินยอมของรัฐต่อข้อผูกพันระหว่างประเทศผ่านสนธิสัญญา และประกาศสงครามและสร้างสันติภาพ (มาตรา 63)'' | ||
| | ||
บรรทัดที่ 102: | บรรทัดที่ 102: | ||
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้ | ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้ | ||
'' | '' - ประธานศาลผู้สอบบัญชี (มาตรา 29 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2/2525 วันที่ 12 พฤษภาคม เรื่องศาลผู้สอบบัญชี)'' | ||
'' - พนักงานอัยการทั่วไป (มาตรา 29.1 ของกฎหมาย 50/1981 วันที่ 30 ธันวาคม ซึ่งควบคุมธรรมนูญประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยบริการอัยการ)'' | '' - พนักงานอัยการทั่วไป (มาตรา 29.1 ของกฎหมาย 50/1981 วันที่ 30 ธันวาคม ซึ่งควบคุมธรรมนูญประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยบริการอัยการ)'' | ||
'' | '' - ผู้ว่าการธนาคารแห่งสเปน (มาตรา 24.1 แห่งพระราชบัญญัติ 13/1994 วันที่ 1 มิถุนายน ว่าด้วยการปกครองตนเองของธนาคารแห่งสเปน'' | ||
| | ||
บรรทัดที่ 112: | บรรทัดที่ 112: | ||
ตำแหน่งต่อไปนี้ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณหรือถวายสัตย์ปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ | ตำแหน่งต่อไปนี้ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณหรือถวายสัตย์ปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ | ||
'' | '' - ประธานาธิบดีและสมาชิกของรัฐบาล'' | ||
'' - สมาชิกศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 21 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2/2522 วันที่ 3 ตุลาคม ว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ)'' | '' - สมาชิกศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 21 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2/2522 วันที่ 3 ตุลาคม ว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ)'' | ||
บรรทัดที่ 122: | บรรทัดที่ 122: | ||
'' - พนักงานอัยการทั่วไป (มาตรา 29.3 ของพระราชบัญญัติ 50/1981 วันที่ 30 ธันวาคม ซึ่งควบคุมธรรมนูญประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยบริการอัยการ'' | '' - พนักงานอัยการทั่วไป (มาตรา 29.3 ของพระราชบัญญัติ 50/1981 วันที่ 30 ธันวาคม ซึ่งควบคุมธรรมนูญประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยบริการอัยการ'' | ||
'' | '' - ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศสเปน'' | ||
| | ||
บรรทัดที่ 128: | บรรทัดที่ 128: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> | ||
CASA DE SU MAJESTAD EL REY. (<span dir="RTL">2023</span><span dir="RTL">). </span>The Monarchy through History. เรียกใช้เมื่อ <span dir="RTL">14 </span>March <span dir="RTL">2023 </span><span dir="RTL">จาก </span>Casa de Su Majestad El Rey (Official Page of The Royal Household of His Majesty the King): https://www.casareal.es/EN/MonarquiaHistoria/Paginas/historia-monarquia.aspx | CASA DE SU MAJESTAD EL REY. (<span dir="RTL">2023</span><span dir="RTL">). </span>The Monarchy through History. เรียกใช้เมื่อ <span dir="RTL">14 </span>March <span dir="RTL">2023 </span><span dir="RTL">จาก </span>Casa de Su Majestad El Rey (Official Page of The Royal Household of His Majesty the King): [https://www.casareal.es/EN/MonarquiaHistoria/Paginas/historia-monarquia.aspx https://www.casareal.es/EN/MonarquiaHistoria/Paginas/historia-monarquia.aspx] | ||
HISTORY.COM EDITORS. (6 September 2019). Spanish Armada. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก History.com: https://www.history.com/topics/european-history/spanish-armada | HISTORY.COM EDITORS. (6 September 2019). Spanish Armada. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก History.com: [https://www.history.com/topics/european-history/spanish-armada https://www.history.com/topics/european-history/spanish-armada] | ||
Kasper Christiansen. (17 November 2020). Roman Spain: Hispania. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก Barcelona Corporate Travel: https://www.barcelonacorporatetravel.com/roman-spain | Kasper Christiansen. (17 November 2020). Roman Spain: Hispania. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก Barcelona Corporate Travel: [https://www.barcelonacorporatetravel.com/roman-spain https://www.barcelonacorporatetravel.com/roman-spain] | ||
Official Page of The Royal Household of His Majesty the King. (2023). Official Page of The Royal Household of His Majesty the King. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก The Crown Today: https://www.casareal.es/EN/corona/Paginas/la-corona-hoy_papel-jefe.aspx | Official Page of The Royal Household of His Majesty the King. (2023). Official Page of The Royal Household of His Majesty the King. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก The Crown Today: [https://www.casareal.es/EN/corona/Paginas/la-corona-hoy_papel-jefe.aspx https://www.casareal.es/EN/corona/Paginas/la-corona-hoy_papel-jefe.aspx] | ||
Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. (2023). Geography of Spain. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers: https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/geography/Paginas/index.aspx | Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. (2023). Geography of Spain. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers: [https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/geography/Paginas/index.aspx https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/geography/Paginas/index.aspx] | ||
Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. (2023). History of Spain. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers: https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/history/Paginas/index.aspx | Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. (2023). History of Spain. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers: [https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/history/Paginas/index.aspx https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/history/Paginas/index.aspx] | ||
Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. (2023). Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก History of Spain: https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/history/Paginas/index.aspx#america | Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. (2023). Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก History of Spain: [https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/history/Paginas/index.aspx#america https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/history/Paginas/index.aspx#america] | ||
Schönbrunn Group. (2023). Charles V. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก The World of the Habsburgs: https://www.habsburger.net/en/persons/habsburg-emperor/charles-v | Schönbrunn Group. (2023). Charles V. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก The World of the Habsburgs: [https://www.habsburger.net/en/persons/habsburg-emperor/charles-v https://www.habsburger.net/en/persons/habsburg-emperor/charles-v] | ||
The Royal Hampshire Regiment Museum. (2023). The Royal Hampshire Regiment Museum. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก The War of the Spanish Succession: https://www.royalhampshireregiment.org/about-the-museum/timeline/war-spanish-succession/ | The Royal Hampshire Regiment Museum. (2023). The Royal Hampshire Regiment Museum. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก The War of the Spanish Succession: [https://www.royalhampshireregiment.org/about-the-museum/timeline/war-spanish-succession/ https://www.royalhampshireregiment.org/about-the-museum/timeline/war-spanish-succession/] | ||
นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์. (24 Mary 2565). Democracy Talk Series ปรากฏการณ์ในโลกประชาธิปไตย Season 2. เรียกใช้เมื่อ 14 มีนาคม 2566 จาก สถาบันพระปกเกล้า: https://www.kpi.ac.th/knowledge/seminar/data/1267 | นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์. (24 Mary 2565). Democracy Talk Series ปรากฏการณ์ในโลกประชาธิปไตย Season 2. เรียกใช้เมื่อ 14 มีนาคม 2566 จาก สถาบันพระปกเกล้า: [https://www.kpi.ac.th/knowledge/seminar/data/1267 https://www.kpi.ac.th/knowledge/seminar/data/1267] | ||
| | ||
[[Category:พระมหากษัตริย์]][[Category:พระราชอำนาจ]][[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์]][[Category:พระมหากษัตริย์ในสมัยต่างๆ]][[Category:รัฐธรรมนูญ]][[Category:เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] | [[Category:พระมหากษัตริย์]] [[Category:พระราชอำนาจ]] [[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์]] [[Category:พระมหากษัตริย์ในสมัยต่างๆ]] [[Category:รัฐธรรมนูญ]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:13, 15 สิงหาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ณัชชาภัทร อมรกุล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
ราชอาณาจักรสเปน เป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรปบนคาบสมุทรไอบีเรีย ทิศเหนือติดกับทะเลกันตาบริโก ราชรัฐอันดอร์รา และประเทศฝรั่งเศส ทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทิศใต้ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบยิบรอลต้า และมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตก อยู่ติดประเทศโปรตุเกสและมหาสมุทรแอตแลนติก มีเนื้อที่ 506,030 ตารางกิโลเมตร เนื้อที่ของประเทศสเปนแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนใหญ่ที่เป็นคาบสมุทรและส่วนที่เป็นหมู่เกาะและดินแดนอื่นที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลสเปน (Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers, 2023)
สเปนเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่ออารยธรรมของโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เป็นประเทศแรกที่สนับสนุนการเดินทางไกลทางทะเลจนค้นพบทวีปอเมริกาเหนือและใต้ นับเป็นการเริ่มต้นของการแสวงหาอาณานิคมในอเมริกาของยุโรป ทำให้อิทธิพลของศิลปะวัฒนธรรม ภาษาและจิตวิญญาณแห่งชนชาติสเปนได้ถูกส่งต่อไปทั่วโลก โดยเฉพาะในอเมริกาใต้และแม้กระทั่งฟิลิปปินส์ในยุคสมัยหนึ่งสเปนเป็นเจ้าโลกทางทะเล มีกองเรืออาร์มาดาที่ลือเลื่องกันว่าแข็งแกร่งที่สุดในโลก ปัจจุบันสเปนมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (constitutional monarchy)
ประวัติศาสตร์
ต้นกำเนิดของราชวงศ์สเปนมาจากการแต่งงานระหว่างสองราชวงศ์ คือ พระนางอิซาเบลลาที่ 1 แห่งแคว้นคาสตีล และ พระเจ้าเฟอร์ดินานห์ที่สอง แห่งอารากอนใน ค.ศ. 1469 ซึ่งเป็นหนึ่งในการแต่งงานที่สร้างผลกระทบอย่างประมาณค่ามิได้ต่อประวัติศาสตร์โลก เป็นจุดเริ่มต้นและการวางรากฐานของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสเปนที่สืบต่อจากนั้นอีกหลายศตวรรษ ใน ค.ศ. 1492 พระนางอิซาเบลลาและพระเจ้าเฟอร์ดินานห์ทรงให้ทุนแก่ นายคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ออกเดินทางสำรวจมหาสมุทรแอตแลนติก เส้นทางการเดินเรือของเขาได้ทำให้เกิดการค้นพบโลกใหม่และการสร้างอาณานิคมของสเปนในทวีปอเมริกาใน ค.ศ. 1492 พระมหากษัตริย์แห่งสเปนได้พิชิตอาณาจักรกรานาดาทางตอนใต้ของสเปน ซึ่งเป็นดินแดนของชาวมุสลิมแห่งสุดท้ายในคาบสมุทรไอบีเรีย ถือเป็นการรวมประเทศสเปนได้อย่างสมบูรณ์ (CASA DE SU MAJESTAD EL REY, 2023)
พระมหากษัตริย์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของสเปน เช่น พระเจ้าคาร์ลที่ 5 (ค.ศ. 1500-1558) เป็นจักรพรรดิ์แห่งจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ ดยุกแห่งออสเตรีย (ระหว่าง ค.ศ. 1519-1556) กษัตริย์แห่งสเปน (คาสตีลและอารากอน) (ระหว่าง ค.ศ. 1516-1556) ดยุกแห่งเบอร์กันดี (ระหว่าง ค.ศ. 1506-1555) ในตอนต้นของราชวงศ์พระองค์ร่ำรวยมาก เนื่องจากพระองค์ได้รับที่ดินซึ่งเป็นมรดกอันกว้างใหญ่กินอาณาเขตทั่วยุโรปและอเมริกา ตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าคาร์ลที่ 5 ทรงพยายามขยายอำนาจที่แท้จริงของพระองค์ไปยังอาณาจักรอันกว้างใหญ่ของพระองค์ แต่ด้วยการขาดเครื่องมือการบริหารสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือปัญหาการสื่อสารทำให้ระบอบกษัตริย์ของพระองค์เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ในที่สุดพระราชบัลลังก์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ก็ถูกส่งต่อไปยัง พระเจ้าเฟอร์ดินานห์ พระราชอนุชาของพระองค์ ส่วนพระราชบัลลังก์ในสเปนถูกส่งต่อไปให้ พระเจ้าฟิลิเปที่ 2 (ค.ศ. 1527-1598) พระราชโอรสของพระองค์ (Schönbrunn Group, 2023)
ภายหลังจากที่พระเจ้าฟิลิเปที่ 2 ทรงได้พระราชสมบัติจากพระราชบิดา พระองค์ทรงขยายอาณาเขตของสเปนออกไปอีกทำให้จักรวรรดิสเปนในสมัยของพระองค์มีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลทั้งในยุโรป คือ สเปน อิตาลี กลุ่มประเทศต่ำและดินแดนต่าง ๆ ในทวีปอเมริกา หมู่เกาะฟิลิปินส์ รวมถึงโปรตุเกสและอาณานิคมของโปรตุเกสด้วย พระองค์ทรงดำเนินการปราบปรามพวกโปรแตสแตนท์อย่างเอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะโปรแตสแตนท์ในประเทศอังกฤษ ทรงก่อตั้งกองเรืออาร์มาด้าที่มีลูกเรือ 8,000 คน และ ทหาร 18,000 คน และ มีเรือทั้งหมด 130 ลำ และมี 40 ลำ ที่เป็นเรือพิฆาต (HISTORY.COM EDITORS, 2019) แต่กองเรือที่ได้รับสมญานามว่า “กองเรือที่ไม่มีวันแพ้” ก็พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเรือของอังกฤษ
อย่างไรก็ดีราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มากเกินไปของพระองค์ ทำให้ระบบตึงเครียดจนเกิดการล่มสลาย อันเห็นได้ชัดเจนใน ค.ศ. 1640 จากการก่อกบฎของชาวคาตาโลเนีย และการแยกตัวออกไปของโปรตุเกส (Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers, 2023) นอกจากนี้การค้าและความก้าวหน้าของการเดินเรือที่เชื่อมทวีปอเมริกากับยุโรป ยังได้ทำให้การค้าทางทะเลที่สเปนเป็นศูนย์กลายถูกลดความสำคัญลง (Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers, 2023) และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปก็ทำให้สเปนตกอยู่ภายใต้สภาวะที่ไม่อาจเรียกได้ว่าได้ประโยชน์สูงสุดจากการค้าทางไกล ในที่สุดการลงนามในสนธิสัญญาพิเรนิส (Pyrenees ค.ศ. 1659) ก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดสถานภาพอันยิ่งใหญ่ของสเปน โดยเป็นจุดเริ่มต้นของวาระอันยิ่งใหญ่ของ พระเจ้าหลุยส์ 14 หรือพระมหากษัตริย์แห่งดวงอาทิตย์ (Sun King) และเข้าสู่ยุคทองของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศส
การสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สเปน
ในช่วงศตวรรษที่ 18 สเปนมีฐานะทางการเงินดีขึ้น เนื่องจากงบประมาณที่เคยถูกทุ่มเทไปยังการเดินเรือและการแสวงหาโลกใหม่ลดลง ทั้งยังเก็บภาษีได้มากขึ้น อันเนื่องมาจากความสงบและความรุ่งเรืองภายในประเทศ การขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ การบริหารจัดการท่าเรือ เพื่อส่งเสริมการค้า มีการกู้คืนการค้ากับทวีปอเมริกา และการเติบโตของอุตสาหกรรมฝ้ายที่คาตาโลเนีย การกำจัดการผูกขาดทางการค้าและกำจัดการครอบครองที่ดินของศาสนจักร และลดอภิสิทธิ์ต่าง ๆ ของชนชั้นเจ้าของที่ดิน ซึ่งทำให้มีที่ดินจำนวนมากขึ้น จนสามารถนำไปใช้ประโยชน์จากการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
นอกจากนี้สเปนยังได้ปฏิรูปประเทศเพื่อรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางโดยสร้างกระทรวง (Secretarías) เพื่อให้เป็นเครื่องมือหรือแขนขาของพระมหากษัตริย์ในการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ต้องผ่านขุนนางในระบบเดิม และยังมีคัดเลือกข้าราชการระดับสูงและกลุ่มขุนนางระดับล่างในท้องถิ่น ซึ่งได้ทำให้เกิดกลุ่มชนชั้นกลางรุ่นใหม่ที่มีความกระตือรือร้นและต้องการพื้นที่ในการเจริญก้าวหน้าจากการเป็นข้าราชการ ข้าราชการกลุ่มนี้มีความตระหนักถึงภารกิจในการปฏิรูป แต่การปฏิรูปนี้ก็อยู่ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากนั้นสเปนได้ถูกโจมตีจากพระเจ้านโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ส่วนพระเจ้าเฟอร์ดินาห์ที่ 7 (ค.ศ. 1784-1833) ทรงลี้ภัยไปที่ฝรั่งเศส พระเจ้านโปเลียนทรงแต่งตั้งพระราชอนุชาของพระองค์ คือ โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต (Joseph-Napoléon Bonaparte ค.ศ.1768-1844) ขึ้นครองราชย์ที่เสปนแทน ขึ้นครองราชย์โดยประกาศให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ ธรรมนูญบายอน (Bayonne Statute) ซึ่งไม่เคยถูกนำมาใช้จริง เนื่องจากชาวสเปนไม่ยอมรับพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ ผลที่ตามมาคือการก่อการจลาจลและสงครามภาคพื้นทวีป (Guerra Peninsular) หรือสงครามเอกราชสเปน (ค.ศ. 1807-1814) สงครามจบลงใน ค.ศ. 1814 แต่ก็เป็นสงครามที่มีการสูญเสียเลือดเนื้อมากที่สุดและทำลายโครงสร้างทางสังคมของสเปนอย่างมากที่สุด
ในช่วงนั้นได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญสเปน ค.ศ. 1812 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่รับรองอำนาจอธิปไตยของชาติ รับรองสิทธิเสรีภาพ การแบ่งแยกอำนาจ ทำลายระบบอภิสิทธิ์ และสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดยให้พระองค์มีความศักดิ์สิทธิ์และมีการคุ้มกัน (immunity) ทำให้พระองค์ไม่ต้องรับผิดชอบในการกระทำใด ๆ ของพระองค์ และกำหนดรัฐมนตรีที่รับผิดชอบต่อการกระทำของพระมหากษัตริย์
แต่เมื่อ พระเจ้าเฟอร์ดินานห์ที่ 7 กลับมาในสเปน ใน ค.ศ. 1814 พระองค์ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้และสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่พระองค์ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงทั้งสงครามกลางเมืองภายในประเทศและสงครามปลดแอกสเปนในดินแดนอาณานิคมในอเมริกา ในช่วงบั้นปลายของชีวิต พระนางเจ้ามาเรีย คริสตินา แห่งซิซิลีทั้งสอง (Maria Christina of the two Sicilies ค.ศ. 1808-1878) พระราชินีพระองค์สุดท้ายของพระองค์ ซึ่งมีความคิดแบบเสรีนิยมได้โน้มน้าวให้พระองค์เปลี่ยนกฎหมายซาลิก (The Salic Law) เพื่อให้สตรีขึ้นครองราชย์ได้ซึ่งก็คือ เจ้าหญิงอิซซาเบลลา (ค.ศ. 1830-1904) พระราชธิดาของพระเจ้าเฟอร์ดินานห์ที่ประสูติกับพระนางนั่นเอง หลังจากนั้นได้มีสงครามเพื่ออ้างสิทธิ์เหนือพระราชบัลลังก์สเปนอีกครั้งโดยพระราชอนุชาของพระองค์ ซึ่งได้รับการต่อต้านจากฝ่ายเสรีนิยม เจ้าหญิงอิซซาเบลลาจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกและพระองค์เดียวของสเปน
แต่รัชสมัยของ สมเด็จพระราชินีนาถอิซซาเบลลา ที่ 2 แห่งสเปน ก็ยังมีปัญหาพระองค์ได้ถูกเนรเทศไปที่ปารีสใน ค.ศ. 1868 และทรงสละราชสมบัติใน ค.ศ. 1879 พระราชบัลลังก์ได้ตกมาเป็นของพระราชโอรสของพระองค์ คือ อัลฟองโซที่ 12 (ค.ศ. 1857-1885) แต่พระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็พระประชวรจนสวรรคต หลังจากนั้นพระราชบัลลังก์ได้ตกเป็นของพระราชโอรสของพระเจ้าอัลฟองโซที่ 12 คือ พระเจ้าอัลฟองโซที่ 13 (ค.ศ. 1886-1941) ที่ทรงประสูติในปีถัดมา
แต่พระเจ้าอัลฟองโซที่ 13 ผู้นี้ ทรงมีชื่อเสียงว่าชอบเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง ใน ค.ศ. 1931 ทำให้สเปนมีการทำประชามติเพื่อไม่ให้มีระบอบกษัตริย์อีกต่อไป พระองค์เสด็จออกจากประเทศก่อนที่จะถูกสภาสาธารณรัฐประนามว่าเป็นผู้ทรยศต่อชาติ หลังจากนั้นเกิดสงครามกลางเมือง (ค.ศ. 1931-1939) ระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปน โดยกลุ่มสนับสนุนสาธารณรัฐ ได้แก่ พวกทางสายกลาง สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวกาตาลัน และชาวบาส์ก ในขณะที่กลุ่มที่ต่อต้านสาธารณรัฐ ได้แก่ กลุ่มนิยมกษัตริย์ พวกคาร์ธอลิก พวกการ์ลิสตา และพวกฟาสซิสม์ แม้แต่กองทัพก็แบ่งเป็นสองส่วนเกิดความขัดแย้งไปทุกหย่อมหญ้า
ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1936 นายพลฟรานซิสโก ฟรังโก (ค.ศ. 1892-1975) ได้นำกองทัพฝ่ายขวาก่อการจลาจลที่โมร็อกโกและสามารถควบคุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศได้ เขาได้รับความช่วยเหลือจากเยอรมนีและอิตาลีด้วยเครื่องบิน รถถัง และอาวุธยุทโธปกรณ์มากมาย ใน ค.ศ. 1939 นายพลฟรังโกเข้ายึดแคว้นคาตาลุนญาและบาร์เซโลนาได้ ฝ่ายสาธารณรัฐจึงพ่ายแพ้ กลุ่มฝ่ายขวาที่ได้รับชัยชนะเดินทางเข้าสู่กรุงมาดริดอย่างมีชัย และสงครามกลางเมืองในสเปนสิ้นสุดลงมีผู้เสียชีวิตกว่าล้านคนในความขัดแย้ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สเปน
หลังจากนั้นสเปนตกอยู่ภายใต้การปกครองของ นายพลฟรังโก ที่ผันตัวเป็นเผด็จการเป็นระยะเวลา 36 ปี โดยมีนายพลคนนี้เป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองแบบเผด็จการโดยบุคคลเดียว ดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ฟรังโกมีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวในการแต่งตั้งรัฐมนตรีและตำแหน่งระดับสูง แต่ในช่วงนั้นนายพลฟรังโกมีความคิดว่าจะต้องสถาปนาระบอบกษัตริย์กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง โดยคนที่จะมาเป็นพระมหากษัตริย์นี้ต้องเป็นคนที่เขาสามารถควบคุมได้ โดยเงื่อนไขนี้ทำให้ สมเด็จพระราชาธิบดี ดอน ฮวน ไม่เหมาะสมที่จะดำรงดังกล่าว เขาจึงมองข้ามไปยังรัชทายาทของดอนฮวน คือ เจ้าชายฮวน คาร์ลอส (เกิด ค.ศ. 1938) ซึ่งเขาคาดหวังว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์หุ่นเชิด (นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์, 2565)
แต่เหตุการณ์ที่เขาไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น โดยใน ค.ศ. 1973 นายพลหลุยส์ การ์เรโร บลังโก นายทหารและคนสนิทและมือขวาที่ยาวนานของนายพลฟรังโก ถูกลอบสังหารจากกลุ่ม ETA ทำให้ระบอบฟรังโกขาดทายาททางการเมืองไปอย่างกะทันหัน หลังจากนั้นก็ได้เกิดกลุ่มต่อต้านนายพลฟรังโกและระบอบฟรังโก ซึ่งประกอบด้วย แรงงาน กลุ่มชาตินิยม คาตาลัน และบาสก์ นักศึกษา ชนชั้นกลาง ชนชั้นนำ คริสตจักร กลุ่มนิยมเจ้า กฎหมายสืบบัลลังก์ เพราะชนชั้นนำเริ่มตระหนักว่าระบบเผด็จการเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและสเปนต้องการเข้าประชาคมยุโรป คริสตจักรที่เคยสนับสนุนฟรังโกออกมาขอโทษชาวสเปนที่เคยสนับสนุนฟรังโก การถูกปฏิเสธจากศาสนจักรยิ่งทำให้ระบบฟรังโกสั่นคลอนมากขึ้น (นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์, 2565)
พระเจ้าฮวน คาร์ลอส ต้องการให้ประเทศเปลี่ยนผ่านไปเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงนำไปสู่การทำประชามติและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญสเปน ค.ศ. 1978 โดยเป็นการสร้างระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พระองค์ยังเป็นผู้แสดงบทบาทหลักในการป้องกันความพยายามรัฐประหารที่เกิดขึ้นมาภายหลังจากนั้นอีกด้วย บทบาทของสถาบันกษัตริย์ จึงเข้ามามีความสำคัญในตอนนี้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสถาบันทางการเมืองที่มั่นคงและมีรากฐานมายาวนาน พระองค์เป็นความหวังว่าจะสามารถกู้คืนความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมาได้ พระองค์กลายเป็นความหวังเดียวท่ามกลางความรู้สึกไม่แน่ใจและไม่ไว้ใจของประชาชนว่าจะยอมอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการต่อไปหรือจะปฏิรูปเปลี่ยนผ่านให้เป็นประชาธิปไตย แม้ว่าพระองค์จะเป็นผู้ที่ถูกเลือกมาจากระบอบฟรังโกแต่ทรงเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของกษัตริย์องค์ก่อน ๆ ทรงเข้าใจและจับกระแสความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของประชาชน พระองค์จึงเปลี่ยนแปลงจากการเป็นกษัตริย์ของระบอบฟรังโก มาเป็น “กษัตริย์ของชาวสเปนทุกคน” การสถาปนาประชาธิปไตยจึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่เกิดขึ้นควบคู่กับการกอบกู้สถาบันพระมหากษัตริย์ (นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์, 2565)
ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ได้มีการบัญญัติไว้ใน มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญสเปนว่า รูปแบบการเมืองของสเปนเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐสภา (The political form of the Spanish State is that of a parliamentary monarchy) พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เป็นสัญลักษณ์ของเอกภาพและการมีอยู่ของรัฐ ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการและกลั่นกรองการทำงานปกติของสถาบันต่าง ๆ และเป็นตัวแทนสูงสุดของสเปนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในฐานะประมุขแห่งรัฐ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งเอกภาพของรัฐ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่ที่พระองค์จะทรงมีส่วนร่วมในพระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัฐ ดังนี้ (Official Page of The Royal Household of His Majesty the King, 2023)
- การลงโทษและการประกาศใช้กฎหมาย (มาตรา 62 a)
- การออกกฤษฎีกาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (มาตรา 62 f)
- การแต่งตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกอื่น ๆ ของรัฐบาล (มาตรา 99.3 และ 100)
- การแต่งตั้งประธานและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 159 และ 160)
- การแต่งตั้งประธานศาลฎีกา (มาตรา 123.2)
- การแต่งตั้งประธานสภาบริหารของชุมชนปกครองตนเอง (มาตรา 152.1)
นอกจากนี้ยังเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่จะ
- มอบตำแหน่งพลเรือนและการทหาร ตลอดจนรางวัลเกียรติยศและความแตกต่าง (มาตรา 62 f)
- ใช้อำนาจบังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพ (มาตรา 62 f)
- ใช้สิทธิในการผ่อนผัน (มาตรา 62 i)
- ใช้ความในพระบรมราชูปถัมภ์ของราชบัณฑิตยสภา (มาตรา 62 j)
- พระเจ้าแผ่นดินสเปนเป็นสัญลักษณ์ของความคงอยู่ถาวรของรัฐ (มาตรา 57)
กษัตริย์เป็นผู้ชี้ขาดและกลั่นกรองการทำงานปกติของสถาบันและด้วยเหตุนี้ กษัตริย์จึงมีหน้าที่
- เปิดและยุบสภา และกำหนดให้มีการเลือกตั้ง (มาตรา 62 b)
- รับรองให้มีการทำประชามติ (มาตรา 62c)
- แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (มาตรา 62 d)
- รับทราบเกี่ยวกับกิจการของรัฐ และเพื่อการนี้ ให้เป็นประธานในการประชุมของคณะรัฐมนตรี (มาตรา 62 g)
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แทนสูงสุดของสเปนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงมีหน้าที่
- รับรองเอกอัครราชทูตและผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ แสดงความยินยอมของรัฐต่อข้อผูกพันระหว่างประเทศผ่านสนธิสัญญา และประกาศสงครามและสร้างสันติภาพ (มาตรา 63)
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ประธานศาลผู้สอบบัญชี (มาตรา 29 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2/2525 วันที่ 12 พฤษภาคม เรื่องศาลผู้สอบบัญชี)
- พนักงานอัยการทั่วไป (มาตรา 29.1 ของกฎหมาย 50/1981 วันที่ 30 ธันวาคม ซึ่งควบคุมธรรมนูญประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยบริการอัยการ)
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งสเปน (มาตรา 24.1 แห่งพระราชบัญญัติ 13/1994 วันที่ 1 มิถุนายน ว่าด้วยการปกครองตนเองของธนาคารแห่งสเปน
ตำแหน่งต่อไปนี้ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณหรือถวายสัตย์ปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์
- ประธานาธิบดีและสมาชิกของรัฐบาล
- สมาชิกศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 21 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2/2522 วันที่ 3 ตุลาคม ว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ)
- ประธานและสมาชิกสภาสามัญของศาลยุติธรรม (มาตรา 123.4 และ 115 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 6/1985 วันที่ 1 กรกฎาคม ว่าด้วยศาลยุติธรรม)
- ประธานศาลผู้สอบบัญชี (มาตรา 21.6 แห่งพระราชบัญญัติ 7/1988 วันที่ 5 เมษายน ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของศาลผู้สอบบัญชี)
- พนักงานอัยการทั่วไป (มาตรา 29.3 ของพระราชบัญญัติ 50/1981 วันที่ 30 ธันวาคม ซึ่งควบคุมธรรมนูญประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยบริการอัยการ
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศสเปน
อ้างอิง
CASA DE SU MAJESTAD EL REY. (2023). The Monarchy through History. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก Casa de Su Majestad El Rey (Official Page of The Royal Household of His Majesty the King): https://www.casareal.es/EN/MonarquiaHistoria/Paginas/historia-monarquia.aspx
HISTORY.COM EDITORS. (6 September 2019). Spanish Armada. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก History.com: https://www.history.com/topics/european-history/spanish-armada
Kasper Christiansen. (17 November 2020). Roman Spain: Hispania. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก Barcelona Corporate Travel: https://www.barcelonacorporatetravel.com/roman-spain
Official Page of The Royal Household of His Majesty the King. (2023). Official Page of The Royal Household of His Majesty the King. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก The Crown Today: https://www.casareal.es/EN/corona/Paginas/la-corona-hoy_papel-jefe.aspx
Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. (2023). Geography of Spain. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers: https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/geography/Paginas/index.aspx
Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. (2023). History of Spain. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers: https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/history/Paginas/index.aspx
Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. (2023). Official website of the president of the Government of Spain and the Council of Ministers. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก History of Spain: https://www.lamoncloa.gob.es/lang/en/espana/historyandculture/history/Paginas/index.aspx#america
Schönbrunn Group. (2023). Charles V. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก The World of the Habsburgs: https://www.habsburger.net/en/persons/habsburg-emperor/charles-v
The Royal Hampshire Regiment Museum. (2023). The Royal Hampshire Regiment Museum. เรียกใช้เมื่อ 14 March 2023 จาก The War of the Spanish Succession: https://www.royalhampshireregiment.org/about-the-museum/timeline/war-spanish-succession/
นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์. (24 Mary 2565). Democracy Talk Series ปรากฏการณ์ในโลกประชาธิปไตย Season 2. เรียกใช้เมื่อ 14 มีนาคม 2566 จาก สถาบันพระปกเกล้า: https://www.kpi.ac.th/knowledge/seminar/data/1267