ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชา-อธิปัตย์นิยม"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 5 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


 
= <span style="font-size:x-large;">'''บทนำ'''</span> =


'''ประชา-อธิปัตย์นิยม (Populist-Sovereignism)'''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ประชา-อธิปัตย์นิยม (Populist-Sovereignism)''' เป็นกระแสเคลื่อนไหวทางความคิดและการเมืองในประเทศประชาธิปไตยตะวันตกที่เรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยเรียกคืนอำนาจอธิปไตยบางส่วนที่ถูกแบ่งปันไปโดยองค์กรเหนือชาติอย่าง [[สหภาพยุโรป|สหภาพยุโรป (European Union)]] สหประชาชาติ (United Nations) องค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 มีสาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลอธิปไตยยึดถือคุณค่าเสรีนิยมและประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (เช่น สิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางวัฒนธรรม นโยบายเปิดเสรีทางการค้า และการอพยพแรงงานเสรี) ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความมั่นคงต่อพลเมืองภายในรัฐอธิปไตย ทว่ารัฐบาลของประเทศภายใต้การบูรณาการเข้าสู่ประชาคมเหนือชาติต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บางอย่างร่วมกัน จึงทำให้ถูกเหนี่ยวรั้งในอันที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นภายในประเทศบางประเด็น ดังนั้นประชาชนและผู้นำทางการเมืองส่วนหนึ่งจึงมองว่ารัฐควรเรียกคืนอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาเพื่อให้มีสิทธิสมบูรณ์อีกครั้งในการตัดสินใจทางการเมืองในประเทศของตนเอง แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยม จึงเป็นการรวมกันของประชานิยมทางการเมืองและแนวคิดทางกฎหมายว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของรัฐ


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ประชา-อธิปัตย์นิยม (Populist-Sovereignism)''' เป็นกระแสเคลื่อนไหวทางความคิดและการเมืองในประเทศประชาธิปไตยตะวันตกที่เรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยเรียกคืนอำนาจอธิปไตยบางส่วนที่ถูกแบ่งปันไปโดยองค์กรเหนือชาติอย่าง สหภาพยุโรป (European Union) สหประชาชาติ (United Nations) องค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 มีสาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลอธิปไตยยึดถือคุณค่าเสรีนิยมและประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (เช่น สิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางวัฒนธรรม นโยบายเปิดเสรีทางการค้า และการอพยพแรงงานเสรี) ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความมั่นคงต่อพลเมืองภายในรัฐอธิปไตย ทว่ารัฐบาลของประเทศภายใต้การบูรณาการเข้าสู่ประชาคมเหนือชาติต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บางอย่างร่วมกัน จึงทำให้ถูกเหนี่ยวรั้งในอันที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นภายในประเทศบางประเด็น ดังนั้นประชาชนและผู้นำทางการเมืองส่วนหนึ่งจึงมองว่ารัฐควรเรียกคืนอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาเพื่อให้มีสิทธิสมบูรณ์อีกครั้งในการตัดสินใจทางการเมืองในประเทศของตนเอง แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยม จึงเป็นการรวมกันของประชานิยมทางการเมืองและแนวคิดทางกฎหมายว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของรัฐ
= <span style="font-size:x-large;">'''แนวคิด “ประชา-อธิปัตย์นิยม”'''</span> =


&nbsp;
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง''' '''“Occupy Wall Street”''' ในสหรัฐใน ปี ค.ศ. 2011 เหตุการณ์การลงประชามติเพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป หรือ [[Brexit_(เบร็กซิต)|Brexit]] ด้วยแคมเปญ '''“Let's Take Back Control”''' ในปี ค.ศ. 2016 และการขึ้นมาของประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ในปีเดียวกันแคมเปญ '''“Make America Great Again”''' สร้างความเห็นที่ไม่ลงรอยกันไม่น้อยในหมู่นักวิชาการซึ่งพยายามอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่ลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งก็คือ ขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้พุ่งเป้าโจมตีชนชั้นนำที่ฉ้อฉล (corrupt elites) ในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความไม่พอใจทางวัฒนธรรมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของผู้คน ผลที่สุดก็คือ เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านระบบสถาบันที่ดำรงอยู่ (anti-establishment) ไปทั่วโลกเสรี ทั้งตัดข้ามเส้นแบ่งอุดมการซ้าย-ขวาอย่างที่เคยเข้าใจกันงานวิชาการจำนวนหนึ่งมองว่าปรากฏการณ์นี้ควรถูกเข้าใจว่าเป็นกระแส[[ประชานิยม|'''ประชานิยม (Populism)''']] ที่วางอยู่บนความเชื่อเรื่องการต่อสู้ระหว่างฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว (Manichean consmology) ซึ่งประชาชนที่เป็นเอกภาพ (homogeneous people) ต่อสู้ตอบโต้ชนชั้นนำที่ฉ้อฉลซึ่งร่วมมือกับชนชั้นนำระดับสากล[[#_ftn1|[1]]]


'''แนวคิด “ประชา-อธิปัตย์นิยม”'''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตามกลับมีข้อโต้แย้งว่ากรอบความเข้าใจประชานิยมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะจับภาพความเคลื่อนไหวที่กำลังดำเนินอยู่ในสังคมตะวันตก แต่กรอบคิดที่ครอบคลุมยิ่งกว่าและจับประเด็นได้ครบถ้วนมากกว่าก็คือ '''“ประชา-อธิปัตย์นิยม” (Populist-Sovereignism)''' ซึ่งเป็นการผสานรวมกันระหว่างการเคลื่อนไหวแบบประชานิยมและอธิปัตย์นิยม โดยธรรมชาติของการเคลื่อนไหวแล้วเป็น ''“การตอกย้ำเจตจำนงของประชาชน (หรือก็คือ อธิปไตยของปวงชน) โดยการเรียกคืนอำนาจควบคุมเหนือประเทศชาติจากอิทธิพลต่างชาติ และตอกตรึงความสำคัญลำดับแรกของรัฐชาติในขอบเขตระหว่างประเทศ (หรือก็คือ อธิปไตยของรัฐ)”''[[#_ftn2|[2]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง''' '''“Occupy Wall Street”''' ในสหรัฐในปี ค.ศ. 2011 เหตุการณ์การลงประชามติเพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit ด้วยแคมเปญ '''“Let's Take Back Control”''' ในปี ค.ศ. 2016 และการขึ้นมาของประธานาธิบดี '''โดนัล ทรัมป์''' ในปีเดียวกันแคมเปญ '''“Make America Great Again”''' สร้างความเห็นที่ไม่ลงรอยกันไม่น้อยในหมู่นักวิชาการซึ่งพยายามอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่ลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งก็คือ ขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้พุ่งเป้าโจมตีชนชั้นนำที่ฉ้อฉล (corrupt elites) ในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความไม่พอใจทางวัฒนธรรมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของผู้คน ผลที่สุดก็คือ เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านระบบสถาบันที่ดำรงอยู่ (anti-establishment) ไปทั่วโลกเสรี ทั้งตัดข้ามเส้นแบ่งอุดมการซ้าย-ขวาอย่างที่เคยเข้าใจกันงานวิชาการจำนวนหนึ่งมองว่าปรากฏการณ์นี้ควรถูกเข้าใจว่าเป็นกระแส[[ประชานิยม|'''ประชานิยม (Populism)''']] ที่วางอยู่บนความเชื่อเรื่องการต่อสู้ระหว่างฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว (Manichean consmology) ซึ่งประชาชนที่เป็นเอกภาพ (homogeneous people) ต่อสู้ตอบโต้ชนชั้นนำที่ฉ้อฉลซึ่งร่วมมือกับชนชั้นนำระดับสากล[[#_ftn1|[1]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในด้านหนึ่ง[[ประชานิยม]]เป็นรูปแบบหนึ่งของโวหารที่ฉายภาพให้เห็นว่าประชาชนซึ่งเป็นนามธรรมต่อต้านชนชั้นนำ (ทั้งในและระหว่างประเทศ) และคนนอก (ผู้อพยพและคนต่างชาติ) อันปรากฏอยู่ในรูปแบบที่ผสมผสานกันระหว่างขบวนการเคลื่อนไหว ยุทธศาสตร์การเมือง และอุดมการณ์ในอีกด้านหนึ่ง อธิปัตย์นิยมเป็นความคิดที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นรากฐานของรัฐสมัยใหม่ ซึ่งเน้นย้ำถึงอำนาจควบคุมภายใน (อธิปไตยภายใน) และการปฏิเสธอำนาจจากภายนอก (อธิปไตยทางการศาลและกฎหมายระหว่างประเทศ) ดังนั้น รัฐอธิปไตยจึงมีสิทธิอำนาจอันชอบธรรมในการควบคุมเหนือดินแดนของตนผ่านการตราและบังคับใช้กฎหมายกับพลเมืองภายในรัฐ[[#_ftn3|[3]]] อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของอุดมการณ์บรรทัดฐานแบบเสรีนิยมกลับเรียกร้องให้รัฐอธิปไตยจำเป็นต้องยอมถ่ายโอนอำนาจของตนส่วนหนึ่งไปสู่องค์กรระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ก็ยินยอมให้รัฐอื่นสามารถแทรกแซงก้าวก่ายกิจการภายในของรัฐอธิปไตยได้ หากเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น (ตัวอย่างเช่นใน ปี ค.ศ. 2015 สหภาพยุโรปได้กำหนดโควต้าให้รัฐสมาชิกรับผู้อพยพและผู้ลี้ภัยสงครามจากซีเรีย อัฟกานิสถาน และอิรัก เป็นจำนวนมากถึง 1.3 ล้านคน ซึ่งผู้นำอย่าง วิคเตอร์ โอบานของฮังการี ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และไม่ยอมรับแผนการดังกล่าว)[[#_ftn4|[4]]] ขณะเดียวกันประชา-อธิปัตย์นิยมก็แตกต่างจากชาตินิยมตรงที่ชาตินิยมเรียกร้องให้เกิดชุมชนจินตกรรมของเพื่อนร่วมชาติที่เป็นเอกภาพโดยการสร้างรัฐสมัยใหม่ขึ้นมา แต่ประชา-อธิปัตย์นิยม เรียกคืนอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์ของรัฐชาติที่มีตัวตนอยู่แล้วคืนให้กลับมาสู่จุดแรกเริ่ม เนื่องจากความกังวลและตระหนักว่าอำนาจนั้นกำลังถูกเจือจางลง


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตามกลับมีข้อโต้แย้งว่ากรอบความเข้าใจประชานิยมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะจับภาพความเคลื่อนไหวที่กำลังดำเนินอยู่ในสังคมตะวันตก แต่กรอบคิดที่ครอบคลุมยิ่งกว่าและจับประเด็นได้ครบถ้วนมากกว่าก็คือ '''“ประชา-อธิปัตย์นิยม” (Populist-Sovereignism)''' ซึ่งเป็นการผสานรวมกันระหว่างการเคลื่อนไหวแบบ'''ประชานิยม'''และ'''อธิปัตย์นิยม''' โดยธรรมชาติของการเคลื่อนไหวแล้วเป็น '''“การตอกย้ำเจตจำนงของประชาชน (หรือก็คือ อธิปไตยของปวงชน)''' โดยการเรียกคืนอำนาจควบคุมเหนือประเทศชาติจากอิทธิพลต่างชาติ และตอกตรึงความสำคัญลำดับแรกของรัฐชาติในขอบเขตระหว่างประเทศ (หรือก็คือ อธิปไตยของรัฐ)”[[#_ftn2|[2]]]
= <span style="font-size:x-large;">'''แหล่งที่มาของกระแสประชา-อธิปัตย์นิยม'''</span> =
 
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในด้านหนึ่งประชานิยมเป็นรูปแบบหนึ่งของโวหารที่ฉายภาพให้เห็นว่าประชาชนซึ่งเป็นนามธรรมต่อต้านชนชั้นนำ (ทั้งในและระหว่างประเทศ) และคนนอก (ผู้อพยพและคนต่างชาติ) อันปรากฏอยู่ในรูปแบบที่ผสมผสานกันระหว่างขบวนการเคลื่อนไหว ยุทธศาสตร์การเมือง และอุดมการณ์ในอีกด้านหนึ่ง อธิปัตย์นิยมเป็นความคิดที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นรากฐานของรัฐสมัยใหม่ ซึ่งเน้นย้ำถึงอำนาจควบคุมภายใน (อธิปไตยภายใน) และการปฏิเสธอำนาจจากภายนอก (อธิปไตยทางการศาลและกฎหมายระหว่างประเทศ) ดังนั้น รัฐอธิปไตยจึงมีสิทธิอำนาจอันชอบธรรมในการควบคุมเหนือดินแดนของตนผ่านการตราและบังคับใช้กฎหมายกับพลเมืองภายในรัฐ[[#_ftn3|[3]]] อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของอุดมการณ์บรรทัดฐานแบบเสรีนิยมกลับเรียกร้องให้รัฐอธิปไตยจำเป็นต้องยอมถ่ายโอนอำนาจของตนส่วนหนึ่งไปสู่องค์กรระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ก็ยินยอมให้รัฐอื่นสามารถแทรกแซงก้าวก่ายกิจการภายในของรัฐอธิปไตยได้ หากเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น (ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2015 สหภาพยุโรปได้กำหนดโควต้าให้รัฐสมาชิกรับผู้อพยพและผู้ลี้ภัยสงครามจากซีเรีย อัฟกานิสถาน และอิรัก เป็นจำนวนมากถึง 1.3 ล้านคน ซึ่งผู้นำอย่าง '''วิคเตอร์ โอบานของฮังการี''' ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และไม่ยอมรับแผนการดังกล่าว)[[#_ftn4|[4]]] ขณะเดียวกันประชา-อธิปัตย์นิยมก็แตกต่างจากชาตินิยมตรงที่ชาตินิยมเรียกร้องให้เกิดชุมชนจินตกรรมของเพื่อนร่วมชาติที่เป็นเอกภาพโดยการสร้างรัฐสมัยใหม่ขึ้นมา แต่ประชา-อธิปัตย์นิยม เรียกคืนอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์ของรัฐชาติที่มีตัวตนอยู่แล้วคืนให้กลับมาสู่จุดแรกเริ่ม เนื่องจากความกังวลและตระหนักว่าอำนาจนั้นกำลังถูกเจือจางลง
 
&nbsp;
 
'''แหล่งที่มาของกระแสประชา-อธิปัตย์นิยม'''


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การต่อสู้ทางอุดมการณ์ในโลกยุคสงครามเย็นจบลงด้วยชัยชนะของโลกเสรีซึ่งถูกทำนายว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การต่อสู้ขัดแย้งทางอุดมการณ์ของมนุษยชาติ โดยที่ค่านิยม และวัฒนธรรมเสรีระบบการปกครองเสรีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่กลายเป็นบรรทัดฐานหนึ่งเดียวที่นานาประเทศยึดถือ[[#_ftn5|[5]]] อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ประชา-อธิปปัตนิยมกลับแสดงให้เห็นปฏิกิริยาตอบโต้อุดมการณ์นำดังกล่าว โดยมีแหล่งที่มาจากความรู้สึกของผู้คนที่ต้องประเชิญหน้ากับภัยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการสูญเสียตัวตนเชิงอัตลักษณ์ และความหวาดกลัวภัยคุกคามก่อการร้าย โดยทั้งสามปัจจัยผสมเข้ากับการขาดการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจากพรรคการเมืองและนักการเมืองกระแสหลักที่บังเอิญมีฉันทามติร่วมกันในอุดมการณ์เสรีนิยมนับแต่สิ้นสุดสงครามเย็น
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การต่อสู้ทางอุดมการณ์ในโลกยุคสงครามเย็นจบลงด้วยชัยชนะของโลกเสรีซึ่งถูกทำนายว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การต่อสู้ขัดแย้งทางอุดมการณ์ของมนุษยชาติ โดยที่ค่านิยม และวัฒนธรรมเสรีระบบการปกครองเสรีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่กลายเป็นบรรทัดฐานหนึ่งเดียวที่นานาประเทศยึดถือ[[#_ftn5|[5]]] อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ประชา-อธิปปัตนิยมกลับแสดงให้เห็นปฏิกิริยาตอบโต้อุดมการณ์นำดังกล่าว โดยมีแหล่งที่มาจากความรู้สึกของผู้คนที่ต้องประเชิญหน้ากับภัยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการสูญเสียตัวตนเชิงอัตลักษณ์ และความหวาดกลัวภัยคุกคามก่อการร้าย โดยทั้งสามปัจจัยผสมเข้ากับการขาดการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจากพรรคการเมืองและนักการเมืองกระแสหลักที่บังเอิญมีฉันทามติร่วมกันในอุดมการณ์เสรีนิยมนับแต่สิ้นสุดสงครามเย็น


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หากพิจารณาในด้านอุปสงค์ หรือความต้องจากการฟากประชาชนและสังคมแล้ว กระบวนการโลกาภิวัตน์และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ได้สร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจขนานใหญ่ภายในประเทศ ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลังภายใต้ฉากหน้าของการบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ดังเห็นได้ว่านับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 2015 อัตราการว่างงานของแรงงานไร้ฝีมือในประเทศยุโรป (European OECD countries) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประมาณร้อยละ 10 ไปเป็นประมาณร้อยละ 17 ซึ่งสัมพันธ์กับสัดส่วนรายได้ต่อ GDP ที่ลดลงจากร้อยละ 65 ในปี ค.ศ.1960 ไปสู่ประมาณร้อยละ 52 ในปี ค.ศ. 2015[[#_ftn6|[6]]]&nbsp;ยิ่งไปกว่านั้นค่านิยมแบบเสรีและก้าวหน้าได้กลายเป็นบรรทัดฐานหลักของสังคมตะวันตกนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ที่เน้นย้ำถึงความอดกลั้นต่อวิถีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย ความหลากหลายทางศาสนาและพหุวัฒนธรรม การปกครองแบบประชาธิปไตย การปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ค่านิยมเหล่านี้ได้รับการยึดถือในระดับสากลจากสหประชาชาติ และด้วยการเข้ามาทดแทนค่านิยมดั้งเดิม (อาทิ อภิสิทธิ์ของคนผิวขาว และการนับถือคริสตศาสนาอย่างเคร่งครัด เป็นต้น) ที่เคยยึดถือโดยการผลัดเปลี่ยนช่วงวัย ลัทธิเสรีนิยมจึงเพิกถอนอภิสิทธิ์ต่างๆ ที่คนรุ่นก่อนเคยได้รับ และจบลงด้วยปฏิกิริยาตอบโต้รุนแรงทางวัฒนธรรมของคนรุ่นปัจจุบัน นอกเหนือจากปัญหาทางวัฒนธรรมแล้ว ชาวต่างชาติและคนนอกที่ไหลบ่าเข้าสู่สังคมตะวันตกมักถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของประชากรภายในประเทศจนอาจไปไกลถึงขั้นมองว่าผู้คนเหล่านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุก่อการร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมตะวันตก[[#_ftn7|[7]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หากพิจารณาในด้านอุปสงค์ หรือความต้องจากการฟากประชาชนและสังคมแล้ว กระบวนการโลกาภิวัตน์และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ได้สร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจขนานใหญ่ภายในประเทศ ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลังภายใต้ฉากหน้าของการบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ดังเห็นได้ว่านับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 2015 อัตราการว่างงานของแรงงานไร้ฝีมือในประเทศยุโรป (European OECD countries) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประมาณ ร้อยละ 10 ไปเป็นประมาณ ร้อยละ 17 ซึ่งสัมพันธ์กับสัดส่วนรายได้ต่อ GDP ที่ลดลงจาก ร้อยละ 65 ในปี ค.ศ. 1960 ไปสู่ประมาณ ร้อยละ 52 ในปี ค.ศ. 2015[[#_ftn6|[6]]]&nbsp;ยิ่งไปกว่านั้นค่านิยมแบบเสรีและก้าวหน้าได้กลายเป็นบรรทัดฐานหลักของสังคมตะวันตกนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ที่เน้นย้ำถึงความอดกลั้นต่อวิถีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย ความหลากหลายทางศาสนาและพหุวัฒนธรรม การปกครองแบบประชาธิปไตย การปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ค่านิยมเหล่านี้ได้รับการยึดถือในระดับสากลจากสหประชาชาติ และด้วยการเข้ามาทดแทนค่านิยมดั้งเดิม (อาทิ อภิสิทธิ์ของคนผิวขาว และการนับถือคริสตศาสนาอย่างเคร่งครัด เป็นต้น) ที่เคยยึดถือโดยการผลัดเปลี่ยนช่วงวัย ลัทธิเสรีนิยมจึงเพิกถอนอภิสิทธิ์ต่าง ๆ ที่คนรุ่นก่อนเคยได้รับ และจบลงด้วยปฏิกิริยาตอบโต้รุนแรงทางวัฒนธรรมของคนรุ่นปัจจุบัน นอกเหนือจากปัญหาทางวัฒนธรรมแล้ว ชาวต่างชาติและคนนอกที่ไหลบ่าเข้าสู่สังคมตะวันตกมักถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของประชากรภายในประเทศจนอาจไปไกลถึงขั้นมองว่าผู้คนเหล่านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุก่อการร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมตะวันตก[[#_ftn7|[7]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งที่พลเมืองภายในประเทศเกิดความรู้สึกถึงภัยคุกคามแต่รัฐบาลระดับชาติกลับถูกเหนี่ยวรั้งไม่ให้ทำอะไรได้มากนักเพราะมีพันธะผูกพันในข้อตกลงระหว่างประเทศ ในด้านอุปทาน หรือการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและสังคมนั้น นับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง ชนชั้นนำในระบบต่างมีฉันทามติร่วมกันในอันที่จะยอมรับการบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจระดับโลก หรือ ประชาคมเหนือชาติอย่างสภาพยุโรป ความคิดพหุวัฒนธรรม และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ให้เป็นนโยบายและหลักการหลักของประเทศ แต่ละเลยประเด็นละเอียดอ่อน อาทิ การอพยพ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และปฏิกิริยารุนแรงทางวัฒนธรรม เหล่านี้เป็นการเร่งเร้าให้พลเมืองโกรธแค้นไม่พอใจต่อระบบสถาปนา[[#_ftn8|[8]]] นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมอัตราการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งและพรรคการเมืองในสังคมตะวันตกจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง[[#_ftn9|[9]]] การมาบรรจบกันทางอุดมการณ์ดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กระแสประชา-อธิปัตย์นิยมเกิดขึ้นทั่วทั้งโลกเสรี และด้วยการเห็นโอกาสดังกล่าว พรรคการเมืองและผู้นำแบบประชานิยมบางคนจึงใช้โอกาสนี้ปลุกคลื่นแห่งความไม่พอใจของประชาชนจนกระทั่งได้ขึ้นสู่อำนาจในที่สุด
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งที่พลเมืองภายในประเทศเกิดความรู้สึกถึงภัยคุกคามแต่รัฐบาลระดับชาติกลับถูกเหนี่ยวรั้งไม่ให้ทำอะไรได้มากนักเพราะมีพันธะผูกพันในข้อตกลงระหว่างประเทศ ในด้านอุปทาน หรือการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและสังคมนั้น นับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง ชนชั้นนำในระบบต่างมีฉันทามติร่วมกันในอันที่จะยอมรับการบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจระดับโลก หรือ ประชาคมเหนือชาติอย่างสภาพยุโรป ความคิดพหุวัฒนธรรม และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ให้เป็นนโยบายและหลักการหลักของประเทศ แต่ละเลยประเด็นละเอียดอ่อน อาทิ การอพยพ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และปฏิกิริยารุนแรงทางวัฒนธรรม เหล่านี้เป็นการเร่งเร้าให้พลเมืองโกรธแค้นไม่พอใจต่อระบบสถาปนา[[#_ftn8|[8]]] นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมอัตราการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งและพรรคการเมืองในสังคมตะวันตกจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง[[#_ftn9|[9]]] การมาบรรจบกันทางอุดมการณ์ดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กระแสประชา-อธิปัตย์นิยมเกิดขึ้นทั่วทั้งโลกเสรี และด้วยการเห็นโอกาสดังกล่าว พรรคการเมืองและผู้นำแบบประชานิยมบางคนจึงใช้โอกาสนี้ปลุกคลื่นแห่งความไม่พอใจของประชาชนจนกระทั่งได้ขึ้นสู่อำนาจในที่สุด


&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''บทสรุป'''</span> =
 
'''บทสรุป'''


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยมอธิบายปรากฏการณ์ความไม่พอใจของประชาชนในสังคมตะวันตกที่มีต่ออุดมการณ์เสรีนิยมในช่วงขณะที่เสรีนิยมได้กลายเป็นบรรทัดฐานหลักทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองการปกครอง กระบวนการโลกาภิวัตน์และการขยายตัวขององค์กรเหนือชาติทะลุทะลวงกำแพงของรัฐชาติจนประชาชนตระหนักได้ว่าอำนาจของรัฐบาลที่เคยถูกตั้งความหวังไว้ว่าจะปกป้องคุ้มครองพลเมืองภายในประเทศถูกจำกัดลงโดยสถาบันทางการเมืองเหนือรัฐ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่ประชากรในโลกตะวันตกส่วนใหญ่จะไม่เชื่อใจในองค์การสหประชาชาติและสหภาพยุโรป เป็นต้น[[#_ftn10|[10]]] อย่างไรก็ตามแม้ขบวนการเคลื่อนไหวประชา-อธิปัตย์นิยมทั้งซ้ายและขวาจะว่างอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับเขตแดนว่าด้วยเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนร่วมกัน แต่กลับให้ความสำคัญกับเป้าหมายปลายทางที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ประชานิยมฝ่ายขวาตอกย้ำอธิปัตย์นิยม เพื่อที่จะขีดเส้นเขตแดนซ้ำลงบนอธิปไตยของรัฐชาติโดยการทำให้เขตแดนกลายเป็นตัวกรองผู้ที่จะเข้ามาสู่ชุมชนของตนในอนาคต ในทางกลับกัน ประชานิยมฝ่ายซ้ายเห็นว่าเขตแดนเป็นกำแพงป้องกันผลกระทบของเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ดังนั้นเขตแดนของรัฐชาติจึงเป็นจุดยืนทางยุทธศาสตร์ชั่วคราวที่จะบรรเทาเบาบางผลกระทบทางเศรษฐกิจในเส้นทางที่จะเดินไปสู่การเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนในระยะยาว[[#_ftn11|[11]]] ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาถึงประชา-อธิปัตย์นิยม ทั้งในแง่ขบวนการเคลื่อนไหวและกรอบแนวคิดในการอธิบาย จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างทางยุทธศาสตร์ การปรับตัว และการต่อรองอำนาจกันเองภายใต้กระบวนการโลกาภิวัตน์ที่กำลังดำเนินอยู่ต่อไป
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยมอธิบายปรากฏการณ์ความไม่พอใจของประชาชนในสังคมตะวันตกที่มีต่ออุดมการณ์เสรีนิยมในช่วงขณะที่เสรีนิยมได้กลายเป็นบรรทัดฐานหลักทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองการปกครอง กระบวนการโลกาภิวัตน์และการขยายตัวขององค์กรเหนือชาติทะลุทะลวงกำแพงของรัฐชาติจนประชาชนตระหนักได้ว่าอำนาจของรัฐบาลที่เคยถูกตั้งความหวังไว้ว่าจะปกป้องคุ้มครองพลเมืองภายในประเทศถูกจำกัดลงโดยสถาบันทางการเมืองเหนือรัฐ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่ประชากรในโลกตะวันตกส่วนใหญ่จะไม่เชื่อใจในองค์การสหประชาชาติและสหภาพยุโรป เป็นต้น[[#_ftn10|[10]]] อย่างไรก็ตามแม้ขบวนการเคลื่อนไหวประชา-อธิปัตย์นิยมทั้งซ้ายและขวาจะว่างอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับเขตแดนว่าด้วยเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนร่วมกัน แต่กลับให้ความสำคัญกับเป้าหมายปลายทางที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ประชานิยมฝ่ายขวาตอกย้ำอธิปัตย์นิยม เพื่อที่จะขีดเส้นเขตแดนซ้ำลงบนอธิปไตยของรัฐชาติโดยการทำให้เขตแดนกลายเป็นตัวกรองผู้ที่จะเข้ามาสู่ชุมชนของตนในอนาคต ในทางกลับกัน ประชานิยมฝ่ายซ้ายเห็นว่าเขตแดนเป็นกำแพงป้องกันผลกระทบของเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ดังนั้นเขตแดนของรัฐชาติจึงเป็นจุดยืนทางยุทธศาสตร์ชั่วคราวที่จะบรรเทาเบาบางผลกระทบทางเศรษฐกิจในเส้นทางที่จะเดินไปสู่การเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนในระยะยาว[[#_ftn11|[11]]] ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาถึงประชา-อธิปัตย์นิยม ทั้งในแง่ขบวนการเคลื่อนไหวและกรอบแนวคิดในการอธิบาย จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างทางยุทธศาสตร์ การปรับตัว และการต่อรองอำนาจกันเองภายใต้กระบวนการโลกาภิวัตน์ที่กำลังดำเนินอยู่ต่อไป


&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =


'''บรรณานุกรม'''
Fukuyama, Francis (2006). The End of History and the Last Man. New York: Free Press.


Fukuyama, Francis (2006). '''The End of History and the Last Man'''. New York: Free Press.
Hague Center for Strategic Studies. (2017). The Rise of Populist Sovereignism. Hague: HCSS.


Hague Center for Strategic Studies. (2017). '''The Rise of Populist Sovereignism'''. Hague: HCSS.
Hawkins, Kirk A. and Cristóbal Rovira Kaltwasser (2019). "Introduction: The Ideational Approach," in Kirk A. Hawkins, Ryan E. Carlin, Levente Littvay, and Cristóbal Rovira Kaltwasser (eds). The Ideational Approach to Populism. New York: Routledge.


Hawkins, Kirk A. and Cristóbal Rovira Kaltwasser (2019). "Introduction: The Ideational Approach," in Kirk A. Hawkins, Ryan E. Carlin, Levente Littvay, and Cristóbal Rovira Kaltwasser (eds). '''The Ideational Approach to Populism'''. New York: Routledge.
Kallis, Aristotle (2018). "Populism, Sovereigntism, and the Unlikely Re-Emergence of the Territorial Nation-State." Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences. 11: 285-302.


Kallis, Aristotle (2018). "Populism, Sovereigntism, and the Unlikely Re-Emergence of the Territorial Nation-State." '''Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences'''. 11: 285-302.
Rankin, Jennifer. "EU proposes to ditch refugee quotas for member states." The Guardian (September 23, 2020). Available <[https://www.theguardian.com/world/2020/sep https://www.theguardian.com/world/2020/sep]/23/eu-proposes-to-ditch-refugee-quotas-for-member-states>. Accessed September 10, 2021.


Rankin, Jennifer. "EU proposes to ditch refugee quotas for member states." '''The Guardian''' (September 23, 2020). Available <[https://www.theguardian.com/world/2020/sep https://www.theguardian.com/world/2020/sep]<br/> /23/eu-proposes-to-ditch-refugee-quotas-for-member-states>. Accessed September 10, 2021.
Solijonov, Abdurashid (2016). Voter Turnout Trends Around the World. Stockholm: International IDEA.
 
Solijonov, Abdurashid (2016). '''Voter Turnout Trends Around the World'''. Stockholm: International IDEA.
<div>
<div>
&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
 
'''อ้างอิง'''
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] Kirk A. Hawkins and Cristóbal Rovira Kaltwasser, "Introduction: The Ideational Approach," in Kirk A. Hawkins et al. (eds), '''The Ideational Approach to Populism''' (New York: Routledge, 2019), p. 3.
[[#_ftnref1|[1]]] Kirk A. Hawkins and Cristóbal Rovira Kaltwasser, "Introduction: The Ideational Approach," in Kirk A. Hawkins et al. (eds), The Ideational Approach to Populism (New York: Routledge, 2019), p. 3.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] Hague Center for Strategic Studies, '''The Rise of Populist Sovereignism''' (Hague: HCSS, 2017), p. 39.
[[#_ftnref2|[2]]] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism (Hague: HCSS, 2017), p. 39.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] Hague Center for Strategic Studies, '''The Rise of Populist Sovereignism''', p. 33.
[[#_ftnref3|[3]]] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 33.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] Jennifer Rankin, "EU proposes to ditch refugee quotas for member states," '''The Guardian''' (September 23, 2020). Available <[https://www.theguardian.com/world/2020/sep/23/eu-proposes-to-ditch-refugee-quotas-for-member-states https://www.theguardian.com/world/2020/sep/23/eu-proposes-to-ditch-refugee-quotas-for-member-states]>. Accessed September 10, 2021.
[[#_ftnref4|[4]]] Jennifer Rankin, "EU proposes to ditch refugee quotas for member states," The Guardian (September 23, 2020). Available <[https://www.theguardian.com/world/2020/sep/23/eu-proposes-to-ditch-refugee-quotas-for-member-states https://www.theguardian.com/world/2020/sep/23/eu-proposes-to-ditch-refugee-quotas-for-member-states]>. Accessed September 10, 2021.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] Francis Fukuyama, '''The End of History and the Last Man'''. (New York: Free Press, 2006).
[[#_ftnref5|[5]]] Francis Fukuyama, The End of History and the Last Man. (New York: Free Press, 2006).
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] Hague Center for Strategic Studies, '''The Rise of Populist Sovereignism''', pp. 45-46
[[#_ftnref6|[6]]] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, pp. 45-46
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] Hague Center for Strategic Studies, '''The Rise of Populist Sovereignism''', p. 48.
[[#_ftnref7|[7]]] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 48.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] Hague Center for Strategic Studies, '''The Rise of Populist Sovereignism''', p. 53.
[[#_ftnref8|[8]]] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 53.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] Abdurashid Solijonov, '''Voter Turnout Trends Around the World''' (Stockholm: International IDEA, 2016), p. 25.
[[#_ftnref9|[9]]] Abdurashid Solijonov, Voter Turnout Trends Around the World (Stockholm: International IDEA, 2016), p. 25.
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] Hague Center for Strategic Studies, '''The Rise of Populist Sovereignism''', p. 51.
[[#_ftnref10|[10]]] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 51.
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]] Aristotle Kallis, "Populism, Sovereigntism, and the Unlikely Re-Emergence of the Territorial Nation-State," '''Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences''', 11 (2018): 285–302.
[[#_ftnref11|[11]]] Aristotle Kallis, "Populism, Sovereigntism, and the Unlikely Re-Emergence of the Territorial Nation-State," Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences, 11 (2018): 285–302.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]]
[[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:36, 14 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

บทนำ

          ประชา-อธิปัตย์นิยม (Populist-Sovereignism) เป็นกระแสเคลื่อนไหวทางความคิดและการเมืองในประเทศประชาธิปไตยตะวันตกที่เรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยเรียกคืนอำนาจอธิปไตยบางส่วนที่ถูกแบ่งปันไปโดยองค์กรเหนือชาติอย่าง สหภาพยุโรป (European Union) สหประชาชาติ (United Nations) องค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 มีสาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลอธิปไตยยึดถือคุณค่าเสรีนิยมและประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (เช่น สิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางวัฒนธรรม นโยบายเปิดเสรีทางการค้า และการอพยพแรงงานเสรี) ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความมั่นคงต่อพลเมืองภายในรัฐอธิปไตย ทว่ารัฐบาลของประเทศภายใต้การบูรณาการเข้าสู่ประชาคมเหนือชาติต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บางอย่างร่วมกัน จึงทำให้ถูกเหนี่ยวรั้งในอันที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นภายในประเทศบางประเด็น ดังนั้นประชาชนและผู้นำทางการเมืองส่วนหนึ่งจึงมองว่ารัฐควรเรียกคืนอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาเพื่อให้มีสิทธิสมบูรณ์อีกครั้งในการตัดสินใจทางการเมืองในประเทศของตนเอง แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยม จึงเป็นการรวมกันของประชานิยมทางการเมืองและแนวคิดทางกฎหมายว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของรัฐ

แนวคิด “ประชา-อธิปัตย์นิยม”

          เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง “Occupy Wall Street” ในสหรัฐใน ปี ค.ศ. 2011 เหตุการณ์การลงประชามติเพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit ด้วยแคมเปญ “Let's Take Back Control” ในปี ค.ศ. 2016 และการขึ้นมาของประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ในปีเดียวกันแคมเปญ “Make America Great Again” สร้างความเห็นที่ไม่ลงรอยกันไม่น้อยในหมู่นักวิชาการซึ่งพยายามอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่ลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งก็คือ ขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้พุ่งเป้าโจมตีชนชั้นนำที่ฉ้อฉล (corrupt elites) ในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความไม่พอใจทางวัฒนธรรมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของผู้คน ผลที่สุดก็คือ เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านระบบสถาบันที่ดำรงอยู่ (anti-establishment) ไปทั่วโลกเสรี ทั้งตัดข้ามเส้นแบ่งอุดมการซ้าย-ขวาอย่างที่เคยเข้าใจกันงานวิชาการจำนวนหนึ่งมองว่าปรากฏการณ์นี้ควรถูกเข้าใจว่าเป็นกระแสประชานิยม (Populism) ที่วางอยู่บนความเชื่อเรื่องการต่อสู้ระหว่างฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว (Manichean consmology) ซึ่งประชาชนที่เป็นเอกภาพ (homogeneous people) ต่อสู้ตอบโต้ชนชั้นนำที่ฉ้อฉลซึ่งร่วมมือกับชนชั้นนำระดับสากล[1]

          อย่างไรก็ตามกลับมีข้อโต้แย้งว่ากรอบความเข้าใจประชานิยมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะจับภาพความเคลื่อนไหวที่กำลังดำเนินอยู่ในสังคมตะวันตก แต่กรอบคิดที่ครอบคลุมยิ่งกว่าและจับประเด็นได้ครบถ้วนมากกว่าก็คือ “ประชา-อธิปัตย์นิยม” (Populist-Sovereignism) ซึ่งเป็นการผสานรวมกันระหว่างการเคลื่อนไหวแบบประชานิยมและอธิปัตย์นิยม โดยธรรมชาติของการเคลื่อนไหวแล้วเป็น “การตอกย้ำเจตจำนงของประชาชน (หรือก็คือ อธิปไตยของปวงชน) โดยการเรียกคืนอำนาจควบคุมเหนือประเทศชาติจากอิทธิพลต่างชาติ และตอกตรึงความสำคัญลำดับแรกของรัฐชาติในขอบเขตระหว่างประเทศ (หรือก็คือ อธิปไตยของรัฐ)”[2]

          ในด้านหนึ่งประชานิยมเป็นรูปแบบหนึ่งของโวหารที่ฉายภาพให้เห็นว่าประชาชนซึ่งเป็นนามธรรมต่อต้านชนชั้นนำ (ทั้งในและระหว่างประเทศ) และคนนอก (ผู้อพยพและคนต่างชาติ) อันปรากฏอยู่ในรูปแบบที่ผสมผสานกันระหว่างขบวนการเคลื่อนไหว ยุทธศาสตร์การเมือง และอุดมการณ์ในอีกด้านหนึ่ง อธิปัตย์นิยมเป็นความคิดที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นรากฐานของรัฐสมัยใหม่ ซึ่งเน้นย้ำถึงอำนาจควบคุมภายใน (อธิปไตยภายใน) และการปฏิเสธอำนาจจากภายนอก (อธิปไตยทางการศาลและกฎหมายระหว่างประเทศ) ดังนั้น รัฐอธิปไตยจึงมีสิทธิอำนาจอันชอบธรรมในการควบคุมเหนือดินแดนของตนผ่านการตราและบังคับใช้กฎหมายกับพลเมืองภายในรัฐ[3] อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของอุดมการณ์บรรทัดฐานแบบเสรีนิยมกลับเรียกร้องให้รัฐอธิปไตยจำเป็นต้องยอมถ่ายโอนอำนาจของตนส่วนหนึ่งไปสู่องค์กรระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ก็ยินยอมให้รัฐอื่นสามารถแทรกแซงก้าวก่ายกิจการภายในของรัฐอธิปไตยได้ หากเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น (ตัวอย่างเช่นใน ปี ค.ศ. 2015 สหภาพยุโรปได้กำหนดโควต้าให้รัฐสมาชิกรับผู้อพยพและผู้ลี้ภัยสงครามจากซีเรีย อัฟกานิสถาน และอิรัก เป็นจำนวนมากถึง 1.3 ล้านคน ซึ่งผู้นำอย่าง วิคเตอร์ โอบานของฮังการี ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และไม่ยอมรับแผนการดังกล่าว)[4] ขณะเดียวกันประชา-อธิปัตย์นิยมก็แตกต่างจากชาตินิยมตรงที่ชาตินิยมเรียกร้องให้เกิดชุมชนจินตกรรมของเพื่อนร่วมชาติที่เป็นเอกภาพโดยการสร้างรัฐสมัยใหม่ขึ้นมา แต่ประชา-อธิปัตย์นิยม เรียกคืนอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์ของรัฐชาติที่มีตัวตนอยู่แล้วคืนให้กลับมาสู่จุดแรกเริ่ม เนื่องจากความกังวลและตระหนักว่าอำนาจนั้นกำลังถูกเจือจางลง

แหล่งที่มาของกระแสประชา-อธิปัตย์นิยม

          การต่อสู้ทางอุดมการณ์ในโลกยุคสงครามเย็นจบลงด้วยชัยชนะของโลกเสรีซึ่งถูกทำนายว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การต่อสู้ขัดแย้งทางอุดมการณ์ของมนุษยชาติ โดยที่ค่านิยม และวัฒนธรรมเสรีระบบการปกครองเสรีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่กลายเป็นบรรทัดฐานหนึ่งเดียวที่นานาประเทศยึดถือ[5] อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ประชา-อธิปปัตนิยมกลับแสดงให้เห็นปฏิกิริยาตอบโต้อุดมการณ์นำดังกล่าว โดยมีแหล่งที่มาจากความรู้สึกของผู้คนที่ต้องประเชิญหน้ากับภัยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการสูญเสียตัวตนเชิงอัตลักษณ์ และความหวาดกลัวภัยคุกคามก่อการร้าย โดยทั้งสามปัจจัยผสมเข้ากับการขาดการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจากพรรคการเมืองและนักการเมืองกระแสหลักที่บังเอิญมีฉันทามติร่วมกันในอุดมการณ์เสรีนิยมนับแต่สิ้นสุดสงครามเย็น

          หากพิจารณาในด้านอุปสงค์ หรือความต้องจากการฟากประชาชนและสังคมแล้ว กระบวนการโลกาภิวัตน์และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ได้สร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจขนานใหญ่ภายในประเทศ ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลังภายใต้ฉากหน้าของการบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ดังเห็นได้ว่านับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 2015 อัตราการว่างงานของแรงงานไร้ฝีมือในประเทศยุโรป (European OECD countries) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประมาณ ร้อยละ 10 ไปเป็นประมาณ ร้อยละ 17 ซึ่งสัมพันธ์กับสัดส่วนรายได้ต่อ GDP ที่ลดลงจาก ร้อยละ 65 ในปี ค.ศ. 1960 ไปสู่ประมาณ ร้อยละ 52 ในปี ค.ศ. 2015[6] ยิ่งไปกว่านั้นค่านิยมแบบเสรีและก้าวหน้าได้กลายเป็นบรรทัดฐานหลักของสังคมตะวันตกนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ที่เน้นย้ำถึงความอดกลั้นต่อวิถีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย ความหลากหลายทางศาสนาและพหุวัฒนธรรม การปกครองแบบประชาธิปไตย การปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ค่านิยมเหล่านี้ได้รับการยึดถือในระดับสากลจากสหประชาชาติ และด้วยการเข้ามาทดแทนค่านิยมดั้งเดิม (อาทิ อภิสิทธิ์ของคนผิวขาว และการนับถือคริสตศาสนาอย่างเคร่งครัด เป็นต้น) ที่เคยยึดถือโดยการผลัดเปลี่ยนช่วงวัย ลัทธิเสรีนิยมจึงเพิกถอนอภิสิทธิ์ต่าง ๆ ที่คนรุ่นก่อนเคยได้รับ และจบลงด้วยปฏิกิริยาตอบโต้รุนแรงทางวัฒนธรรมของคนรุ่นปัจจุบัน นอกเหนือจากปัญหาทางวัฒนธรรมแล้ว ชาวต่างชาติและคนนอกที่ไหลบ่าเข้าสู่สังคมตะวันตกมักถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของประชากรภายในประเทศจนอาจไปไกลถึงขั้นมองว่าผู้คนเหล่านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุก่อการร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมตะวันตก[7]

          ทั้งที่พลเมืองภายในประเทศเกิดความรู้สึกถึงภัยคุกคามแต่รัฐบาลระดับชาติกลับถูกเหนี่ยวรั้งไม่ให้ทำอะไรได้มากนักเพราะมีพันธะผูกพันในข้อตกลงระหว่างประเทศ ในด้านอุปทาน หรือการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและสังคมนั้น นับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง ชนชั้นนำในระบบต่างมีฉันทามติร่วมกันในอันที่จะยอมรับการบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจระดับโลก หรือ ประชาคมเหนือชาติอย่างสภาพยุโรป ความคิดพหุวัฒนธรรม และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ให้เป็นนโยบายและหลักการหลักของประเทศ แต่ละเลยประเด็นละเอียดอ่อน อาทิ การอพยพ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และปฏิกิริยารุนแรงทางวัฒนธรรม เหล่านี้เป็นการเร่งเร้าให้พลเมืองโกรธแค้นไม่พอใจต่อระบบสถาปนา[8] นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมอัตราการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งและพรรคการเมืองในสังคมตะวันตกจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง[9] การมาบรรจบกันทางอุดมการณ์ดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กระแสประชา-อธิปัตย์นิยมเกิดขึ้นทั่วทั้งโลกเสรี และด้วยการเห็นโอกาสดังกล่าว พรรคการเมืองและผู้นำแบบประชานิยมบางคนจึงใช้โอกาสนี้ปลุกคลื่นแห่งความไม่พอใจของประชาชนจนกระทั่งได้ขึ้นสู่อำนาจในที่สุด

บทสรุป

          แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยมอธิบายปรากฏการณ์ความไม่พอใจของประชาชนในสังคมตะวันตกที่มีต่ออุดมการณ์เสรีนิยมในช่วงขณะที่เสรีนิยมได้กลายเป็นบรรทัดฐานหลักทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองการปกครอง กระบวนการโลกาภิวัตน์และการขยายตัวขององค์กรเหนือชาติทะลุทะลวงกำแพงของรัฐชาติจนประชาชนตระหนักได้ว่าอำนาจของรัฐบาลที่เคยถูกตั้งความหวังไว้ว่าจะปกป้องคุ้มครองพลเมืองภายในประเทศถูกจำกัดลงโดยสถาบันทางการเมืองเหนือรัฐ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่ประชากรในโลกตะวันตกส่วนใหญ่จะไม่เชื่อใจในองค์การสหประชาชาติและสหภาพยุโรป เป็นต้น[10] อย่างไรก็ตามแม้ขบวนการเคลื่อนไหวประชา-อธิปัตย์นิยมทั้งซ้ายและขวาจะว่างอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับเขตแดนว่าด้วยเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนร่วมกัน แต่กลับให้ความสำคัญกับเป้าหมายปลายทางที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ประชานิยมฝ่ายขวาตอกย้ำอธิปัตย์นิยม เพื่อที่จะขีดเส้นเขตแดนซ้ำลงบนอธิปไตยของรัฐชาติโดยการทำให้เขตแดนกลายเป็นตัวกรองผู้ที่จะเข้ามาสู่ชุมชนของตนในอนาคต ในทางกลับกัน ประชานิยมฝ่ายซ้ายเห็นว่าเขตแดนเป็นกำแพงป้องกันผลกระทบของเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ดังนั้นเขตแดนของรัฐชาติจึงเป็นจุดยืนทางยุทธศาสตร์ชั่วคราวที่จะบรรเทาเบาบางผลกระทบทางเศรษฐกิจในเส้นทางที่จะเดินไปสู่การเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนในระยะยาว[11] ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาถึงประชา-อธิปัตย์นิยม ทั้งในแง่ขบวนการเคลื่อนไหวและกรอบแนวคิดในการอธิบาย จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างทางยุทธศาสตร์ การปรับตัว และการต่อรองอำนาจกันเองภายใต้กระบวนการโลกาภิวัตน์ที่กำลังดำเนินอยู่ต่อไป

บรรณานุกรม

Fukuyama, Francis (2006). The End of History and the Last Man. New York: Free Press.

Hague Center for Strategic Studies. (2017). The Rise of Populist Sovereignism. Hague: HCSS.

Hawkins, Kirk A. and Cristóbal Rovira Kaltwasser (2019). "Introduction: The Ideational Approach," in Kirk A. Hawkins, Ryan E. Carlin, Levente Littvay, and Cristóbal Rovira Kaltwasser (eds). The Ideational Approach to Populism. New York: Routledge.

Kallis, Aristotle (2018). "Populism, Sovereigntism, and the Unlikely Re-Emergence of the Territorial Nation-State." Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences. 11: 285-302.

Rankin, Jennifer. "EU proposes to ditch refugee quotas for member states." The Guardian (September 23, 2020). Available <https://www.theguardian.com/world/2020/sep/23/eu-proposes-to-ditch-refugee-quotas-for-member-states>. Accessed September 10, 2021.

Solijonov, Abdurashid (2016). Voter Turnout Trends Around the World. Stockholm: International IDEA.

อ้างอิง

[1] Kirk A. Hawkins and Cristóbal Rovira Kaltwasser, "Introduction: The Ideational Approach," in Kirk A. Hawkins et al. (eds), The Ideational Approach to Populism (New York: Routledge, 2019), p. 3.

[2] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism (Hague: HCSS, 2017), p. 39.

[3] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 33.

[4] Jennifer Rankin, "EU proposes to ditch refugee quotas for member states," The Guardian (September 23, 2020). Available <https://www.theguardian.com/world/2020/sep/23/eu-proposes-to-ditch-refugee-quotas-for-member-states>. Accessed September 10, 2021.

[5] Francis Fukuyama, The End of History and the Last Man. (New York: Free Press, 2006).

[6] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, pp. 45-46

[7] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 48.

[8] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 53.

[9] Abdurashid Solijonov, Voter Turnout Trends Around the World (Stockholm: International IDEA, 2016), p. 25.

[10] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 51.

[11] Aristotle Kallis, "Populism, Sovereigntism, and the Unlikely Re-Emergence of the Territorial Nation-State," Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences, 11 (2018): 285–302.