|
|
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) |
บรรทัดที่ 1: |
บรรทัดที่ 1: |
| '''ผู้เรียบเรียง''' : นายณัฐพล ยิ่งกล้า
| |
|
| |
|
| '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : นายจเร พันธุ์เปรื่อง
| | *[[พระราชพิธีฉัตรมงคล_(ชาติชาย_มุกสง และปริญญา_ขุนทอง)]] |
| ----
| | *[[พระราชพิธีฉัตรมงคล_(ณัฐพล_ยิ่งกล้า)]] |
|
| |
|
| พระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นพระราชพิธีเฉลิมฉลองพระมหาเศวตฉัตร สิริราชกกุธภัณฑ์และพระแสงสำคัญประจำรัชกาล เนื่องในวาระคล้ายวันบรมราชาภิเษกของ[[พระมหากษัตริย์]][[ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] ทรงรับบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์[[รัชกาลที่ 9]] แห่งราชวงศ์จักรี [[รัฐบาล]]และพสกนิกรชาวไทยได้น้อมเกล้าฯ จัดพระราชพิธีถวายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เรียกว่า รัฐพิธีฉัตรมงคล หรือ พระราชพิธีฉัตรมงคล และได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคล
| | |
| | |
| ==ความหมาย==
| |
|
| |
| พระราชพิธีฉัตรมงคล หมายถึง พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร อันใช้เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม
| |
| | |
| ==ความสำคัญ==
| |
|
| |
| วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีของประเทศไทย โดยเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย ราชสมบัติ ต่อจาก[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" เนื่องจากยังมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะ จึงได้เสด็จนิวัติประเทศไทย รัฐบาลและพสกนิกรชาวไทย จึงได้น้อมเกล้าฯ จัดงานพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร หรือรัฐพิธีฉัตรมงคล หรืออาจเรียกว่าพระราชพิธีฉัตรมงคล ซึ่งกระทำในวันบรมราชาภิเษก ถวายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
| |
| | |
| ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธี บรมราชาภิเษกนั้นว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
| |
| | |
| ==ความเป็นมา==
| |
|
| |
| ความเป็นมาของพระราชพิธีฉัตรมงคลนั้น มีพระบรมราชาธิบายไว้ใน[[พระราชพิธีสิบสองเดือน]] พระราชนิพนธ์ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ว่า[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[รัชกาลที่ 4]] ทรงมีพระราชดำริว่า วันที่พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกนั้น เป็นมหามงคลสมัยซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีพระเจ้าแผ่นดินย่อมนับถือวันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล แต่ในกรุงสยามมิได้มีการนักขัตฤกษ์อันใด ครั้งนี้วันบรมราชาภิเษกของพระองค์ ตรงกับสมัยที่เจ้าพนักงานได้สมโภชเครื่องราชูโภคแต่เดิมมา ควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ จึงได้ทรงพระราชดำริจัดการพระราชกุศล พระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล นี้ขึ้น การพระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มนั้น มีสวดมนต์เลี้ยงพระ เวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตรที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
| |
| | |
| ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีเพิ่มการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า อาลักษณ์อ่านคำประกาศ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ชุมนุมถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช เวียนเทียนสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์
| |
|
| |
| ครั้งรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[รัชกาลที่ 6]] การพระราชพิธีฉัตรมงคลได้เพิ่ม การ[[พระราชกุศลทักษิณานุประทาน]] ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช
| |
| | |
| ==พระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลปัจจุบัน==
| |
| | |
| พระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม โดยพระราชพิธีจะเริ่มตั้งแต่ พระราชกุศลทักษิณานุประทานในวันที่ 3 พฤษภาคม ณ [[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย]] พระราชพิธีนี้เป็น การบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณแด่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชในรัชกาลก่อน ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล ที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย
| |
| | |
| วันที่ 4 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จออกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ที่หน้าพระแท่นมุก เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล สมเด็จพระสังฆราชถวายศีล จบแล้ว เสด็จไปทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยที่หน้าพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร บูชาเทพยดารักษาพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ แล้วหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสด็จพระราชดำเนินกลับ
| |
|
| |
| วันที่ 5 พฤษภาคม วันฉัตรมงคลเป็นวันคล้ายวันที่ได้ทรงรับนพปฎลมหาเศวตฉัตรและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ อันมีพระมหามงกุฎเป็นปฐมแห่งการบรมราชาภิเษก จึงตั้งโต๊ะเครื่องบายศรีสำรับใหญ่ สำหรับ เวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตร เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ และองค์สมเด็จพระมหากษัตริย์ที่ได้เสวย ราชสมบัติมาบรรจบในมงคลดิถีวันบรมราชาภิเษก
| |
| | |
| พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จออกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ที่หน้า พระแท่นมุก เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล สมเด็จพระสังฆราชถวายศีลและถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนภัตตาหารแด่สมเด็จพระสังฆราช นอกนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ ทรงประเคนแด่พระสงฆ์ตามลำดับ จากนั้นทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา
| |
| | |
| เจ้าพนักงานปูลาดผ้าแดงเตรียมการเวียนเทียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียน เครื่องทองน้อยที่หน้าพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร บูชาเทพยดารักษาพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เจ้าหน้าที่กรมวังกราบทูลเชิญ[[พระบรมวงศานุวงศ์]] [[องคมนตรี]] [[นายกรัฐมนตรี]] [[ประธานรัฐสภา]] [[ประธานศาลฎีกา]] ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายทหารและพลเรือนไปยืนเฝ้ารายล้อมตามแนวผ้าแดง พร้อมแล้วหัวหน้าพราหมณ์เบิกแว่น โหรหลวงรับแว่นส่งให้ข้าราชการที่ยืนเรียงตามลำดับรับแว่นเวียนเทียนสมโภช ขณะนั้นพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์แตร ปี่พาทย์ พราหมณ์เป่าสังข์ ภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ เมื่อ เวียนเทียนครบสามรอบแล้ว หัวหน้าพราหมณ์รวมเทียนโบกควันถวาย แล้วถวายความเคารพไปเจิมนพปฎลมหาเศวตฉัตรพร้อมกับโหรหลวงผูกผ้าสีชมพูที่คันองค์นพปฎลมหาเศวตฉัตร เรียบร้อยแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงสุหร่ายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่พระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร แล้วเสด็จฯ ไปทรงกราบพระพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ที่หน้าพระแท่นมุก แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ
| |
| | |
| ตอนเย็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จออก พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แก่ผู้ที่มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี
| |
|
| |
| เมื่อถึงวันฉัตรมงคล พสกนิกรชาวไทยทั่วทั้งประเทศควรร่วมใจกันจัดกิจกรรมประกอบพิธีถวาย พระพรชัยมงคลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเกษมสำราญ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนานและน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจโดย[[ทศพิธราชธรรม]] โดยร่วมใจกันประกอบพิธีทางศาสนาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล จัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธีฉัตรมงคล ประดับธงชาติตามสถานที่ราชการและอาคารบ้านเรือน เป็นต้น
| |
| | |
| ==บรรณานุกรม==
| |
|
| |
| จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, '''พระราชพิธีสิบสองเดือน''', (กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์. ครั้งที่ 21, 2552)
| |
|
| |
| สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, '''วันสำคัญ โครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม''', (กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว, 2540)
| |
| | |
| ศูนย์ประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กองทัพภาคที่ 3, '''วันฉัตรมงคล''', (ข้อมูลออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.3armyarea-rta.com/chuct/indexmain.php สืบค้นวันที่ 14 กรกฎาคม 2557.
| |
| | |
| ==ดูเพิ่มเติม==
| |
|
| |
| จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระบาทสมเด็จพระ. '''พระราชพิธีสิบสองเดือน'''. กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์. ครั้งที่ 21, 2552.
| |
|
| |
| สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. '''วันสำคัญ โครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม'''. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว, 2540.
| |
| | |
| [[หมวดหมู่:พระราชพิธี]]
| |