ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภาตำบล(ศ.อนันต์)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สภาตำบล(ศ.อนันต์) ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สภาตำบล
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
#REDIRECT [[สภาตำบล]]
 
'''ผู้เรียบเรียง''' ศ.อนันต์ เกตุวงศ์
 
----
 
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รศ.ดร. ปรีชา หงส์ไกรเลิศ
 
----
 
'''สภาตำบล'''
 
[[กระทรวงมหาดไทย|กระทรวงมหาดไทย]]ได้กำหนดให้มีสภาตำบลเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2499 ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกมาหมู่บ้านละ 1 คน รวมทั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านทุกคนเป็นสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้[[ยกฐานะ|ยกฐานะ]]ของสภาตำบลที่มีรายได้ (ไม่รวมเงินอุดหนุน) ในปีงบประมาณที่ผ่านมาติดต่อกัน 3 ปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท สามารถจัดตั้งเป็น[[องค์การบริหารส่วนตำบล|องค์การบริหารส่วนตำบล]]ได้ โดยมีสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล รวมกับสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนหมู่บ้านละ 2 คน ส่วนคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย กำนัน เป็นประธาน มีผู้ใหญ่บ้านไม่เกิน 2 คน และสมาขิกสภาอีกไม่เกิน 4 คน เป็นกรรมการ
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540]] มาตรา 285 จึงได้มีการกำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดมาจาก[[การเลือกตั้ง|การเลือกตั้ง]] โดยประชาชนหมู่บ้านละ 2 คน ถ้าตำบลใดมี 1 หมู่บ้านให้มีสมาชิกได้ 6 คน ถ้ามี 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกได้หมู่บ้านละ 3 คน และมีคณะกรรมการบริหารมาจากความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี[[นายกองค์การบริหารส่วนตำบล|นายกองค์การบริหารส่วนตำบล]] 1 คน และรองนายกฯ 2 คน โดยเลือกจาก[[สมาชิกสภาองค์การส่วนตำบล|สมาชิกสภาองค์การส่วนตำบล]] ในปี พ.ศ. 2546 มีการเปลี่ยนชื่อจาก คณะกรรมการบริหารและกรรมการบริหาร เป็น คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และจาก ประธานกรรมการ เป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเปลี่ยนชื่อเรียกจาก ข้อบังคับตำบล เป็น [[ข้อบัญญัติ|ข้อบัญญัติ]]องค์การบริหารส่วนตำบล
 
 
 
[[Category:สารานุกรมการเมืองไทย]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:07, 3 สิงหาคม 2560

ผู้เรียบเรียง ศ.อนันต์ เกตุวงศ์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร. ปรีชา หงส์ไกรเลิศ


สภาตำบล

กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดให้มีสภาตำบลเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2499 ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกมาหมู่บ้านละ 1 คน รวมทั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านทุกคนเป็นสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้ยกฐานะของสภาตำบลที่มีรายได้ (ไม่รวมเงินอุดหนุน) ในปีงบประมาณที่ผ่านมาติดต่อกัน 3 ปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท สามารถจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ โดยมีสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล รวมกับสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนหมู่บ้านละ 2 คน ส่วนคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย กำนัน เป็นประธาน มีผู้ใหญ่บ้านไม่เกิน 2 คน และสมาขิกสภาอีกไม่เกิน 4 คน เป็นกรรมการ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 285 จึงได้มีการกำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง โดยประชาชนหมู่บ้านละ 2 คน ถ้าตำบลใดมี 1 หมู่บ้านให้มีสมาชิกได้ 6 คน ถ้ามี 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกได้หมู่บ้านละ 3 คน และมีคณะกรรมการบริหารมาจากความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน และรองนายกฯ 2 คน โดยเลือกจากสมาชิกสภาองค์การส่วนตำบล ในปี พ.ศ. 2546 มีการเปลี่ยนชื่อจาก คณะกรรมการบริหารและกรรมการบริหาร เป็น คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และจาก ประธานกรรมการ เป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเปลี่ยนชื่อเรียกจาก ข้อบังคับตำบล เป็น ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล