ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข้อตกลงยอมรับร่วมในเรื่องคุณสมบัติของนักวิชาชีพอาเซียน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย '==บทนำ== MRA นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการตกลงด้านการค้...'
 
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 27: บรรทัดที่ 27:
ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวในแต่ละวิชาชีพจะกำหนดวัตถุประสงค์ หลักการ ประโยชน์ที่จะได้รับ คุณสมบัติในการประกอบอาชีพนั้นๆ และกลไกการดำเนินงาน ในลักษณะดังนี้
ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวในแต่ละวิชาชีพจะกำหนดวัตถุประสงค์ หลักการ ประโยชน์ที่จะได้รับ คุณสมบัติในการประกอบอาชีพนั้นๆ และกลไกการดำเนินงาน ในลักษณะดังนี้


1) '''วัตถุประสงค์''' : เพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคลากรวิชาชีพต่างๆ ในอาเซียน
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความชำนาญ
ระหว่างกันเพื่อนำไปสู่แนวการปฏิบัติที่ดีที่สุดในวิชาชีพนั้นๆ
ทั้งนี้ก็เป็นการเปิดโอกาสและช่วยพัฒนาศักยภาพในวงการวิชาชีพดังกล่าวด้วย
2) '''หลักการ''' : เปิดให้เฉพาะบุคลากรวิชาชีพนั้นที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
ให้สามารถมาจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพดังกล่าวในประเทศอาเซียนได้
แต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับที่ประเทศนั้นๆกำหนดไว้ด้วย เช่น
อาจจะต้องผ่านการประเมิน หรืออยู่ภายใต้การดูแลขององค์การที่ประเทศนั้นกำหนดให้
3) '''ประโยชน์ที่จะได้รับ''' :
จะช่วยให้บุคคลากรวิชาชีพนั้นมีความสะดวกในการย้ายไปทำงานในประเทศอาเซียนเพราะกา
รตกลงดังกล่าวลดขั้นตอนการตรวจสอบหรือการรับรองวุฒิที่ยุ่งยาก
แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของประเทศที่ไปทำงานอยู่
4) '''คุณสมบัติในการประกอบอาชีพนั้นๆ''' :
บุคลากรวิชาชีพดังกล่าวจะขอจดทะเบียนเป็นบุคลากรต่างชาติวิชาชีพ
และเข้าทำงานในประเทศนั้นได้ ก็ต่อเมื่อมีคุณสมบัติครบตามที่ระบุไว้ตามเงื่อนไข เช่น
ต้องสำเร็จการศึกษาในวิชาชีพนั้นๆ
ได้จดทะเบียนหรือมีใบอนุญาตการทำงานในวิชาชีพนั้นๆในประเทศตน เป็นต้น
5) '''กลไกการดำเนินงาน''' : จะมีหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพนั้นๆ โดย
เป็นหน่วยงานที่ได้รับอำนาจจากรัฐบาลสมาชิกทั้งหลาย ในการตรวจสอบ
พิจารณาให้อนุญาต ติดตามตรวจสอบ รายงานต่อองค์กรท้องถิ่น
เพื่อรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพนั้นๆ





รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:24, 31 พฤษภาคม 2559

บทนำ

MRA นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการตกลงด้านการค้าสินค้าที่เสนอระหว่างกันโดยให้แต่ละฝ่ายยอมรับมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าของกันและกันที่ทำการค้าระหว่างประเทศ ข้อตกลงนี้มีไว้เพื่อขจัดปัญหาเมื่อประเทศคู่ค้ามีมาตรฐานในการพิจารณารับสินค้าไม่ตรงกัน ทำให้ประเทศผู้รับเพียงแค่พิจารณามาตรฐานหรือวิธีการตรวจสอบของประเทศคู่ค้าก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องมีการตรวจสอบภายในประเทศของตนซ้ำอีก [1]เป็นการลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก และเพิ่มโอกาสให้มีการค้าสินค้ากันได้ง่านขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อการเปิดเสรีการค้าอย่างยิ่งเมื่อมาพิจารณาอีกมุมหนึ่งจะพบว่า MRAs ก็มีสาระสำคัญที่ใกล้เคียงกันหากแต่เป็นข้อตกลงยอมรับร่วมกันของงานบริการในเรื่องคุณสมบัติของนักวิชาชีพในอาเซียน โดยให้แต่ละฝ่ายยอมรับคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพนั้นๆ ตามประเทศผู้ส่งได้เลย โดยไม่ต้องพิจารณาซ้ำในประเทศของตนอีก แต่ก็ยังมีข้อกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนจึงจะเข้ามาทำงานได้ ทั้งนี้เพื่อให้แรงงานมีฝีมือหรือแรงงานวิชาชีพภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวสามารถเคลื่อนย้ายในกลุ่มประเทศที่เป็นภาคีได้

ที่มาและความสำคัญ

จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อปี ค.ศ. 2003 โดยผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศต่างร่วมลงนามในแถลงการณ์ Bali concord II กำหนดให้จัดทำขอตกลงยอมรับร่วมในด้านของคุณสมบัติของนักวิชาชีพอาเซียน (MRAs) โดยมีจุดยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติของผู้ทำงานที่มีลักษณะเป็นงานบริการในกลุ่มที่เป็นนักวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ วิศวกร บัญชี สถาปนิก พยาบาล นักสำรวจ ทันตแพทย์ และบริการการท่องเที่ยว สำหรับคุณสมบัติที่เหล่าประเทศสมาชิกต่างหาจุดร่วมกันคือ การศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่นักวิชาชีพดังกล่าวจะสามารถเข้าไปทำงานในรัฐสมาชิก ข้อตกลงนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้การเคลื่อนย้ายบุคลากรวิชาชีพเป็นไปโดยสะดวก โดยไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบคุณสมบัติ ลดช่องว่างและยกระดับมาตรฐานของความสามารถบุคคลากรอาเซียน[2] และนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของประเทศนั้นๆ เสียก่อน เช่น การขอใบอนุญาตการทำงาน การขึ้นทะเบียน เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้ลงนามในข้อตกลง MRAs ของวิชาชีพต่างๆ 8 วิชาชีพแล้วดังนี้ [3]

1) ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพแพทย์ของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Medical Practitioners)

2) ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพทันตแพทย์ของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Dental Practitioners)

3) ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการพยาบาลของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Nursing Services)

4) ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิศวกรรมของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Engineering Services)

5) ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาสถาปัตยกรรมของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Architectural Services)

6) ข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัติด้านการสำรวจของอาเซียน (ASEAN Framework Arrangement for the Mutual Recognition of Surveying Qualifications)

7) กรอบข้อตกลงยอมรับร่วมวิชาชีพบัญชีของอาเซียน (ASEAN Framework Mutual Recognition Arrangement Framework on Accountancy Services)

8 )ข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals)

ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวในแต่ละวิชาชีพจะกำหนดวัตถุประสงค์ หลักการ ประโยชน์ที่จะได้รับ คุณสมบัติในการประกอบอาชีพนั้นๆ และกลไกการดำเนินงาน ในลักษณะดังนี้

1) วัตถุประสงค์ : เพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคลากรวิชาชีพต่างๆ ในอาเซียน

เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความชำนาญ

ระหว่างกันเพื่อนำไปสู่แนวการปฏิบัติที่ดีที่สุดในวิชาชีพนั้นๆ

ทั้งนี้ก็เป็นการเปิดโอกาสและช่วยพัฒนาศักยภาพในวงการวิชาชีพดังกล่าวด้วย

2) หลักการ : เปิดให้เฉพาะบุคลากรวิชาชีพนั้นที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด

ให้สามารถมาจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพดังกล่าวในประเทศอาเซียนได้

แต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับที่ประเทศนั้นๆกำหนดไว้ด้วย เช่น

อาจจะต้องผ่านการประเมิน หรืออยู่ภายใต้การดูแลขององค์การที่ประเทศนั้นกำหนดให้

3) ประโยชน์ที่จะได้รับ :

จะช่วยให้บุคคลากรวิชาชีพนั้นมีความสะดวกในการย้ายไปทำงานในประเทศอาเซียนเพราะกา

รตกลงดังกล่าวลดขั้นตอนการตรวจสอบหรือการรับรองวุฒิที่ยุ่งยาก

แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของประเทศที่ไปทำงานอยู่

4) คุณสมบัติในการประกอบอาชีพนั้นๆ :

บุคลากรวิชาชีพดังกล่าวจะขอจดทะเบียนเป็นบุคลากรต่างชาติวิชาชีพ

และเข้าทำงานในประเทศนั้นได้ ก็ต่อเมื่อมีคุณสมบัติครบตามที่ระบุไว้ตามเงื่อนไข เช่น

ต้องสำเร็จการศึกษาในวิชาชีพนั้นๆ

ได้จดทะเบียนหรือมีใบอนุญาตการทำงานในวิชาชีพนั้นๆในประเทศตน เป็นต้น

5) กลไกการดำเนินงาน : จะมีหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพนั้นๆ โดย

เป็นหน่วยงานที่ได้รับอำนาจจากรัฐบาลสมาชิกทั้งหลาย ในการตรวจสอบ

พิจารณาให้อนุญาต ติดตามตรวจสอบ รายงานต่อองค์กรท้องถิ่น

เพื่อรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพนั้นๆ


บทบาทของประเทศไทยในMRAs

ประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลงไปแล้วใน 8 สายอาชีพ คือแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม งานด้านสำรวจ บัญชี และบริการการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นข้อตกลงล่าสุดที่ประเทศไทยเพิ่งลงนาม ใน ค.ศ. 2012 [4]

เนื่องจากข้อตกลงยอมรับร่วมในเรื่องคุณสมบัติของนักวิชาชีพอาเซียนนี้จะเป็นการเพิ่มโอกาสการเคลื่อนย้ายแรงงาน แรงงานไทยก็จะมีโอกาสออกไปทำงานในประเทศอื่นๆในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งก็จะมีแรงงานจากประเทศอาเซียนเข้ามาทำงานในไทยได้สะดวกขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งหากมองในแง่ดี ก็ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ และประโยชน์ทั้งหลายจะตกแก่ประชาชนผู้รับบริการ เพราะจะมีแรงงานที่มีฝีมือนำวิทยาการความรู้เข้ามาใช้ในประเทศไทย และแรงงานไทยก็สามารถออกไปทำงานที่อาจได้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศ แต่หากลองมองในแง่ลบแล้ว จะเห็นได้ว่าแรงงานที่ออกไปย่อมเป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีความรู้ความสามารถ แทนที่จะอยู่ทำงานในประเทศแต่เมื่อมีข้อตกลงย่อมเป็นการง่ายที่จะออกไปแสวงหางานนอกประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า อีกทั้งแรงงานที่จะเข้ามาในไทยก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเข้ามาแย่งงานคนไทยทำได้

ข้อท้าทายของ MRAs

ข้อตกลงทั้ง 8 ประเภทวิชาชีพนั้นพบว่าเป็นวิชาชีพที่ฝีมือค่อนข้างสูง ข้อตกลงเหล่านี้อาจไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอาเซียนที่ส่วนใหญ่มีความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ ในอนาคตจึงควรพิจารณาข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับสายอาชีพดังกล่าวด้วย[5] นอกจากนี้เป็นการยากที่จะกำหนดมาตรฐานกลางให้เหมือนกัน เพราะแต่ละประเทศระบุกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อประโยชน์ของตนชาติตัวเอง หรือระบุเงื่อนไขอื่นที่ใช้ในประเทศซึ่งบุคลากรต่างชาติต้องผ่านตามเงื่อนไขจึงจะมีสิทธิ์ทำงานได้ ดังนั้นจึงเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของแต่ละประเทศที่จะต้องร่วมกันพัฒนามาตรฐานของสายอาชีพต่างๆ ให้เท่าเทียม เกิดการยอมรับระหว่างกัน ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านบุคลากรและเทคโนโลยีระหว่างกัน โดยอาจเริ่มที่ด้านการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาสำคัญและทุกประเทศต่างยินดีที่จะร่วมพัฒนาในด้านดังกล่าว[6] เมื่อความสามารถของบุคลากรอยู่ในระดับที่ทุกชาติให้การยอมรับ การเปลี่ยนระบบความคิดที่ต้องการจะกีดกันคนต่างชาติไม่ให้มาทำงานในชาติของตนก็จะลดลงและย่อมเป็นการง่ายที่จะลดมาตรการกีดกันต่างๆ ที่ยังคงเป็นอุปสรรคอย่างในปัจจุบัน นอกจากนี้สภาวิชาชีพในแต่ละสาขาในทุกประเทศสมาชิก ต่างก็มีบทบาทสำคัญที่จะต้องร่วมกันลดข้อกีดกันระหว่างกันและสร้างมาตรฐานกลางเพื่อให้แรงงานที่มีความรู้ความสามารถสามารถเคลื่อนย้ายไปสร้างความเจริญให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านได้เสรีมากขึ้น

บทสรุป

แม้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้ลงนามในข้อตกลง เรื่อง Movement of Natural Person ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ณ กรุงพนมเปญ ค.ศ. 2012 แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเท่านั้น ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อเป้าหมายในการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน ที่มีความต้องการให้รัฐสมาชิกในอาเซียนนั้น เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน จึงก่อให้เกิดการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมในเรื่องแรงงานฝีมือขึ้น[7] ซึ่ง ”ข้อตกลงยอมรับร่วมในเรื่องคุณสมบัติของนักวิชาชีพอาเซียน” นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดมาตรฐานของแรงงานที่มีฝีมือในอาเซียน ให้มีมาตรฐานเดียวกัน สำหรับคุณสมบัติที่ตกลงร่วมกันนั้นคือ การศึกษาและประสบการณ์การทำงานอย่างไรก็ดีกรอบข้อตกลงยอมรับร่วมยังเป็นแต่เพียงกฎเกณฑ์กว้างๆเท่านั้นเนื่องจากว่า MRAs ยังพัฒนาไม่ถึงขั้นที่แต่ละประเทศจะยอมรับใบอนุญาตซึ่งกันและกัน[8] เพราะยังคงให้ความสำคัญว่าเป็นคนต่างด้าวเข้าไปทำงานในประเทศอยู่ ยกตัวอย่างเช่น วิศวกรไทยที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ MRA กำหนดไว้ สามารถไปสมัครขอขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียนได้ ต่อมาเมื่อเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียนแล้วก็จะสามารถไปสมัครกับสภาวิศวกรของประเทศอาเซียนอื่นๆ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรต่างด้าวในประเทศนั้นๆ หากประเทศที่ไปขอขึ้นทะเบียนกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม วิศวกรคนนี้ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในที่ประเทศที่ขอขึ้นทะเบียนกำหนดขึ้น[9] ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประเทศต่างๆในอาเซียนที่จะต้องไปกำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติมระหว่างกันอีกชั้นหนึ่งเช่น ในเรื่อง ระดับการศึกษา เรื่องระยะเวลาในการศึกษา หรือ เรื่องระบบหลักสูตรในการเรียน เป็นต้น [10]

ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของหลักสูตรการเรียนในวิชาชีพนักสำรวจ ที่ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ได้เรียนโดยใช้ระบบการศึกษาแบบอเมริกัน แต่ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ได้เรียนโดยใช้ระบบการศึกษาแบบอังกฤษ ทำให้การกำหนดกรอบข้อตกลงยอมรับร่วมนั้น อาจไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ดี ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อาเซียนได้มีช่องทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยให้ประเทศคู่เจรจา สามารถกำหนดคุณสมบัติระหว่างกันเองได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการอุดช่องว่างของปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับเบื้องต้น [11]

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ วิชาชีพทั้ง 8 นั้น ถือได้ว่าเป็นบันไดเบื้องต้น ที่จะทำให้ตลาดแรงงานฝีมือในอาเซียนนั้น ขยายออกไป ซึ่งในอนาคตก็คงจะมีการเพิ่มเติมวิชาชีพอื่นๆเข้าไปมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ถึงเป้าหมายของประชาคมอาเซียน ที่มีวัตถุประสงค์ในการรวมเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน อย่างแท้จริง

บรรณานุกรม

Yoshifumi FUKUNAGA. 2015. Assessing the Progress of ASEAN MRAs on Professional Services. www.eria.org/ERIA-DP-2015-21.pdf (Accessed Jan11,2015)

นิพันธ์ วิเชียรน้อย.2556.คุณสมบัติของวิศวกร และสถาปนิก ที่จะโยกย้ายทำงานใน ASEAN ตามคุณสมบัติ MRA<ww.thai-aec.com/840> (Accessed May 29,2015)

ปิติ ศรีแสงนาม.เตรียมรับ ขยับรุก ทุกวัย ไทย-อาเซียน.กรุงเทพฯ:บ้านพระอาทิตย์, 2556. ปิติ ศรีแสงนาม.เปลี่ยนมุมคิด พิชิตอาเซียน. กรุงเทพฯ:บ้านพระอาทิตย์, 2555.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2015.โครงการเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงานสู่การเป็นประชาคมอาเซียน:ข้อตกลงยอมรับร่วมในเรื่องคุณสมบัติของนักวิชาชีพอาเซียน”(Mutual Recognition Arrangements: MRAs). http://www.mol.go.th/sites/default/files/downloads/pdf/12._bththii_8_MRAs.pdf.(Accessed May 29,2015)

สถาบันพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยว.2554 MRA คืออะไร. http://secretary.mots.go.th/person/ewt_news.php?nid=1547(Accessed May 29 ,2015)

สำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.2555. ข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน. http://asit.kkc.rmuti.ac.th/2558/asean/ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว.pdf (Accessed July 11 ,2015)

ISIT.2015. สถานการณ์ด้าน MRA ของไทย.www.isit.or.th/uploads/Trademeasures/596-file.doc (Accessed May 29,2015)

อ้างอิง

  1. ISIT.2015. “สถานการณ์ด้าน MRA ของไทย.” www.isit.or.th/uploads/Trademeasures/596-file.doc (Accessed May 29,2015)
  2. สถาบันพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยว.2554 “MRA คืออะไร.”http://secretary.mots.go.th/person/ewt_news.php?nid=1547(Accessed May 29 ,2015)
  3. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2015.โครงการเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงานสู่การเป็นประชาคมอาเซียน. ”ข้อตกลงยอมรับร่วมในเรื่องคุณสมบัติของนักวิชาชีพอาเซียน”(Mutual Recognition Arrangements: MRAs).” http://www.mol.go.th/sites/default/files/downloads/pdf/12._bththii_8_MRAs.pdf.(Accessed May 29,2015)
  4. สำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.2555. “ข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน.” http://asit.kkc.rmuti.ac.th/2558/asean/ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว.pdf. (Accessed July 11 ,2015)
  5. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.อ้างแล้ว.,หน้า26.
  6. Yoshifumi FUKUNAGA. 2015. “Assessing the Progress of ASEAN MRAs on Professional Services.” www.eria.org/ERIA-DP-2015-21.pdf (Accessed Jan11,2015)
  7. ปิติ ศรีแสงนาม.เตรียมรับ ขยับรุก ทุกวัย ไทย-อาเซียน. (กรุงเทพฯ:บ้านพระอาทิตย์, 2556.),หน้า 89.
  8. นิพันธ์ วิเชียรน้อย.2556.”คุณสมบัติของวิศวกร และสถาปนิก ที่จะโยกย้ายทำงานใน ASEAN ตามคุณสมบัติ MRA”< ww.thai-aec.com/840> (Accessed May 29,2015)
  9. เพิ่งอ้าง.
  10. ปิติ ศรีแสงนา.2556.อ้างแล้ว.,หน้า 90.
  11. ปิติ ศรีแสงนาม.เปลี่ยนมุมคิด พิชิตอาเซียน. (กรุงเทพฯ:บ้านพระอาทิตย์, 2555.),หน้า 132-133.