ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสด็จฯ เยือนอินโดจีน (กัมพูชา) 2"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'การเสด็จประพาสกัมพูชาในครั้งนี้ พระราชประสงค์ห...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
การเสด็จประพาสกัมพูชาในครั้งนี้ | การเสด็จประพาสกัมพูชาในครั้งนี้ พระราชประสงค์หลักของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และพระบรมราชินี คือ การได้ทอดพระเนตร “ปราสาทนครวัด” ศาสนสถานที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแก่พระวิษณุเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ กล่าวกันว่าเป็นโบราณสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา | ||
ทั้งสองพระองค์เสด็จทอดพระเนตรทั่วบริเวณนครวัด ผ่านกำแพงทั้ง ๓ ชั้น และตัวปราสาท ๕ หลังที่เชื่อมต่อกันด้วยระเบียงทั้ง ๔ ด้าน นอกจากสถาปัตยกรรมที่สวยงามแล้ว ยังมีภาพสลักตลอดผนังโดยรอบมหาปราสาท อันเป็นภาพเรื่องราวพิธีกรรม ความเชื่อ ศาสนาและประวัติศาสตร์อันยาวนานที่น่าศึกษาของอาณาจักรพระนคร | ทั้งสองพระองค์เสด็จทอดพระเนตรทั่วบริเวณนครวัด ผ่านกำแพงทั้ง ๓ ชั้น และตัวปราสาท ๕ หลังที่เชื่อมต่อกันด้วยระเบียงทั้ง ๔ ด้าน นอกจากสถาปัตยกรรมที่สวยงามแล้ว ยังมีภาพสลักตลอดผนังโดยรอบมหาปราสาท อันเป็นภาพเรื่องราวพิธีกรรม ความเชื่อ ศาสนาและประวัติศาสตร์อันยาวนานที่น่าศึกษาของอาณาจักรพระนคร | ||
บรรทัดที่ 13: | บรรทัดที่ 13: | ||
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | ||
[[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]] | *[https://www.youtube.com/watch?v=SeuRsKcHvKc&index=77&list=PLz3ADrKTT5i0vjsCnIPrpraHExclR_Odo YOU TUBE : ทางสายพระราชไมตรี : เสด็จฯ เยือนอินโดจีน (กัมพูชา) 2] | ||
[[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ|ส]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:35, 10 กุมภาพันธ์ 2559
การเสด็จประพาสกัมพูชาในครั้งนี้ พระราชประสงค์หลักของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินี คือ การได้ทอดพระเนตร “ปราสาทนครวัด” ศาสนสถานที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแก่พระวิษณุเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ กล่าวกันว่าเป็นโบราณสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา
ทั้งสองพระองค์เสด็จทอดพระเนตรทั่วบริเวณนครวัด ผ่านกำแพงทั้ง ๓ ชั้น และตัวปราสาท ๕ หลังที่เชื่อมต่อกันด้วยระเบียงทั้ง ๔ ด้าน นอกจากสถาปัตยกรรมที่สวยงามแล้ว ยังมีภาพสลักตลอดผนังโดยรอบมหาปราสาท อันเป็นภาพเรื่องราวพิธีกรรม ความเชื่อ ศาสนาและประวัติศาสตร์อันยาวนานที่น่าศึกษาของอาณาจักรพระนคร
ในพระนิพนธ์เรื่อง “นิราศนครวัด” ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ครั้งเสด็จประพาสกัมพูชาก่อนหน้านี้ ได้พรรณนาถึงความยิ่งใหญ่และความงดงามของมหาเทวาลัยแห่งประวัติศาสตร์ ไว้ว่า
“ดูใหญ่โตกว่าที่คาดหมายนั้นอย่างหนึ่ง ดูงามสง่ากว่าที่คาดมายด้วยอีกอย่างหนึ่ง น่าชมช่างผู้คิดแบบอย่างวางแผนที่นครวัดว่าเป็นช่างฉลาด ทำให้งามจับใจคนดู”
เมื่อเสด็จกลับที่ประทับ ได้ทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเขมร ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่คล้ายกับดนตรีไทย ต่างกันเพียงบางชนิด การได้ทอดพระเนตรดนตรีเขมรครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของบทเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้นำเอาสำเนียงเขมรในบทเพลงมาผสมผสานกับเพลงไทยเดิม เกิดเป็นบทเพลง “เขมรลออองค์ เถา” ที่มียังคงความเป็นอมตะจนถึงทุกวันนี้
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖