ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทรงผนวช"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ | [[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา]]ทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความเรียบร้อย จนกระทั่งเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๐ จึงทรงลาราชการเพื่อทรงผนวชเป็นเวลา ๑ พรรษา | ||
การพระราชพิธีทรงผนวชจัดขึ้น ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้รับฉายาว่า | การพระราชพิธีทรงผนวชจัดขึ้น ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้รับฉายาว่า “[[ปชาธิโป]]” หลังจากนั้นเสด็จประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหารตามราชประเพณี ประทับที่พระตำหนักปั้นหย่าและพระตำหนักทรงพรตตามลำดับ | ||
ความตอนหนึ่งในหนังสือเกิดวังปารุสก์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ กล่าวว่า ครั้งนั้นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงปลื้มพระราชหฤทัยในการทรงผนวชอย่างยิ่ง “ย่าเสด็จไปฟังเทศน์กับฟังสวดมนต์เย็นเกือบทุกๆคืน” | ความตอนหนึ่งในหนังสือเกิดวังปารุสก์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ กล่าวว่า ครั้งนั้นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงปลื้มพระราชหฤทัยในการทรงผนวชอย่างยิ่ง “ย่าเสด็จไปฟังเทศน์กับฟังสวดมนต์เย็นเกือบทุกๆคืน” | ||
ทรงศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเอาพระทัยใส่จนทรงสอบผ่านประโยคนักธรรมชั้นตรีทั้งยังทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรมหลายเรื่อง และมีถึง ๓ เรื่องที่ทรงได้รับรางวัลเป็นเหตุให้สมเด็จพระสมณเจ้าทรงชวนให้อยู่ในภิกษุภาวะไปตลอด | ทรงศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเอาพระทัยใส่จนทรงสอบผ่านประโยคนักธรรมชั้นตรีทั้งยังทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรมหลายเรื่อง และมีถึง ๓ เรื่องที่ทรงได้รับรางวัลเป็นเหตุให้สมเด็จพระสมณเจ้าทรงชวนให้อยู่ในภิกษุภาวะไปตลอด | ||
แต่พระภิกษุสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ทรงปฏิเสธด้วยทรงมีจิตปฏิพัทธ หม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระญาติสนิทมาอยู่ก่อนแล้ว แต่อาจกล่าวได้ว่าการทรงผนวช ส่งผลมาจนเสด็จขึ้นครองราชย์ นั่นคือความใส่พระราชหฤทัยในพระราชกรณียกิจทางการศาสนาที่มีมาตลอดรัชกาล | แต่พระภิกษุสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ทรงปฏิเสธด้วยทรงมีจิตปฏิพัทธ [[หม่อมเจ้ารำไพพรรณี]] พระญาติสนิทมาอยู่ก่อนแล้ว แต่อาจกล่าวได้ว่าการทรงผนวช ส่งผลมาจนเสด็จขึ้นครองราชย์ นั่นคือความใส่พระราชหฤทัยในพระราชกรณียกิจทางการศาสนาที่มีมาตลอดรัชกาล | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:37, 19 มกราคม 2559
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชาทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความเรียบร้อย จนกระทั่งเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๐ จึงทรงลาราชการเพื่อทรงผนวชเป็นเวลา ๑ พรรษา การพระราชพิธีทรงผนวชจัดขึ้น ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้รับฉายาว่า “ปชาธิโป” หลังจากนั้นเสด็จประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหารตามราชประเพณี ประทับที่พระตำหนักปั้นหย่าและพระตำหนักทรงพรตตามลำดับ
ความตอนหนึ่งในหนังสือเกิดวังปารุสก์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ กล่าวว่า ครั้งนั้นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงปลื้มพระราชหฤทัยในการทรงผนวชอย่างยิ่ง “ย่าเสด็จไปฟังเทศน์กับฟังสวดมนต์เย็นเกือบทุกๆคืน”
ทรงศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเอาพระทัยใส่จนทรงสอบผ่านประโยคนักธรรมชั้นตรีทั้งยังทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรมหลายเรื่อง และมีถึง ๓ เรื่องที่ทรงได้รับรางวัลเป็นเหตุให้สมเด็จพระสมณเจ้าทรงชวนให้อยู่ในภิกษุภาวะไปตลอด แต่พระภิกษุสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ทรงปฏิเสธด้วยทรงมีจิตปฏิพัทธ หม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระญาติสนิทมาอยู่ก่อนแล้ว แต่อาจกล่าวได้ว่าการทรงผนวช ส่งผลมาจนเสด็จขึ้นครองราชย์ นั่นคือความใส่พระราชหฤทัยในพระราชกรณียกิจทางการศาสนาที่มีมาตลอดรัชกาล
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖