ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรณีศึกษาเรื่องคนไร้รัฐ ของ นักศึกษา สสสส.๑"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Ekkachais (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: รายงานข้อมูลและความเห็นจากการศึกษาดูงานเรื่องคนไร้รั...
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 9 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
รายงานข้อมูลและความเห็นจากการศึกษาดูงานเรื่องคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ตำบลห้วยข่า อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี  
[[รายงานการศึกษาเรื่องคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ตำบลห้วยข่า]] อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี  
โดย นายอานุภาพ นันทพันธ์ นศ.สสสส.๑
โดย นายอานุภาพ นันทพันธ์ นศ.สสสส.๑
เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
------------------------------------
------------------------------------
ความนำ
[[รายงานการศึกษาเรืองคนไร้รัฐ ต.แม่อาย จ.เชียงใหม่]]
 
โดย นายบัณฑูร ทองตัน นักศึกษา สสสส.๑
การศึกษาดูงานพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างวันที่ ๑๐ ถึง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ มีการแบ่งกลุ่มตามหัวข้อจำนวน ๕ กลุ่ม    สำหรับกลุ่ม ๒ ได้รับมอบหมายในหัวข้อ  “คนไร้รัฐไร้สัญชาติ” โดยกำหนดพื้นที่ศึกษาดูงานที่ตำบลห้วยข่า อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นอำเภอแนวชายแดนติดประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
 
----
เมื่อกลุ่ม ๒ เดินทางไปถึงบ้านบะไห ตำบลห้วยข่า ได้พบว่า มีชาวบ้านจำนวนมากมารอพบส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในข่ายเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติจำนวนกว่าร้อยคน ซึ่งต่างมาด้วยความหวังว่าจะได้รับการช่วยเหลือ มีความพยายามในการให้ข้อมูลที่หลากหลาย ทำให้ในตอนแรกไม่อาจประมวลข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบได้ ทั้งยังมีประเด็นปัญหากฎหมายและระเบียบวิธีปฏิบัติ ซึ่งเป็นปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจของทั้งสองฝ่าย ทางกลุ่มจึงมีความเห็นร่วมกับชาวบ้านและผู้นำว่าหลังรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันแล้ว  จะมีการแบ่งกลุ่มสัมภาษณ์รายบุคคลเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลโดยตรง ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีผู้สัมภาษณ์ ๒ คน และผู้ถูกสัมภาษณ์ประมาณ ๑๐ คน โดยแยกกันตั้งวงตามใต้ถุน ร่มไม้ ชายคาบ้าน เท่าที่สถานที่จะอำนวย
[[กรณีศึกษาของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติในสังคมไทย]]:เรื่องจริงที่เป็นตัวอย่างของคนที่มีปัญหาสถานะบุคคล
 
รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์
จากการแยกสัมภาษณ์กลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งจำนวน ๑๑ คน ทำให้ได้ข้อมูลในเบื้องต้นที่พอจะเป็นตัวแทนของกลุ่มปัญหาตามหัวข้อที่ศึกษา แต่ด้วยหัวข้อที่ศึกษาเป็นประเด็นที่มีความซับซ้อนหลายมิติ  ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงอันจะนำไปสู่ความเป็นจริงที่ถูกต้องโดยไม่ปิดบังซ่อนเร้นแอบแฝงซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาไปถูกทิศทางและถูกต้อง ปัญหาระบบและตัวบทกฎหมายซึ่งมีหลายฉบับหลายเจตนารมณ์ยากต่อการทำความเข้าใจและนำไปใช้ โดยเฉพาะกับคนไร้รัฐไร้สัญชาติซึ่งมักจะด้อยโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ดังกล่าว  ด้วยเหตุดังกล่าวประกอบกับยังมีปัญหาเกี่ยวเนื่องกับระบบ ระเบียบ และวิธีปฏิบัติทางราชการซึ่งยังมีลักษณะยุ่งยากซับซ้อนล่าช้าและมีการใช้ดุลยพินิจที่แตกต่างหลายแนวทาง ไม่เอื้อต่อคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งอาจมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เป็นเช่นนั้น เช่น ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ ความมุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหา  แนวคิดในด้านความมั่นคง เป็นต้น ทำให้การศึกษาดูงานเพียงเท่าเวลาที่มีอยู่ยังไม่สามารถเข้าถึงสภาพปัญหาและข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตาม มีความเห็นว่า โดยภาพรวมการแก้ไขปัญหามีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีการยอมรับการกำหนดสถานะของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย  เพื่อให้มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และมีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ ที่เอื้อต่อการปฏิบัติมากขึ้นเป็นระยะ ๆ  ซึ่งในที่สุดแล้วจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม สำหรับรายงานนี้จะขอนำเสนอมุมมองจากการศึกษาดูงานและการสัมภาษณ์กลุ่มย่อยตามหัวข้อ ดังนี้
นศ.สสสส๑ สถาบันพระปกเกล้า
 
----
๑. สถานการณ์ของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ศึกษา
[[หมวดหมู่:กรณีศึกษาการเสริมสร้างสังคมสันติสุข]]
๒. กฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติและคนไร้รัฐหรือไร้สัญชาติ
๓. ปัญหาเกี่ยวเนื่องกับคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ศึกษา
๔. แนวทางดำเนินการกับปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ศึกษา
 
๑. สถานการณ์ของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ศึกษา
๑.๑ สถานการณ์โดยทั่วไป
 
สถานการณ์ของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ศึกษา เท่าที่ปรากฏเป็นกรณีของชาวลาวหรือชาวอีสานซึ่งเป็นคนไร้รัฐ หรือไม่มีสัญชาติ  หรือยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติซึ่งอาจเป็นคนลาวหรือคนไทย ที่เป็นเช่นนั้นอาจเกี่ยวเนื่องกับเหตุปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญเช่น
 
(๑) กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม กล่าวคือ คนในพื้นที่ภาคอีสานของไทยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนลาวในประเทศลาวโดยมีความเกี่ยวเนื่องกันทางเผ่าพันธุ์ มีภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีการดำเนินชีวิต ในแบบเดียวกัน รวมทั้งมีความเกี่ยวข้องกันทางสายโลหิต โดยเฉพาะบริเวณแนวชายแดน ทำให้เกิดอัตลักษณ์ร่วมเป็นกลุ่มชนเดียวกัน มีการติดต่อไปมาหาสู่และเคลื่อนย้ายการอพยพโดยไม่คิดว่ามีเขตแดน และคนส่วนหนึ่งไม่ได้แสดงตนในต่อรัฐใด เพื่อมีนิติสัมพันธ์หรืออยู่ภายใต้การปกครองในฐานะคนของรัฐหรือคนสัญชาติของรัฐนั้น จนทำให้เกิดปัญหาเป็นคนไร้รัฐหรือไร้สัญชาติ ซึ่งปัญหาจากสาเหตุนี้มีอยู่ในแนวเขตชายแดนของทั้งสองประเทศ
 
(๒) การสู้รบ กล่าวคือ ในอดีตที่ผ่านมาช่วงเวลาเดียวกับสงครามการต่อสู้ทางลัทธิการปกครองในภูมิภาคอินโดจีน ในลาวเองก็ได้มีสงครามสู้รบระหว่างลาวสองฝ่าย คือ ฝ่ายนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ กับฝ่ายประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบอบที่ใช้อยู่ก่อน โดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้เริ่มมีอิทธิพลและครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของลาวก่อน เรียกกันว่าฝ่ายลาวแดง หลังจากนั้นจึงได้รุกคืบลงมาทางลาวตอนใต้ซึ่งปกครองโดยรัฐบาลในระบอบเดิมโดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งเรียกกันว่าฝ่ายลาวขาว  จนในที่สุดลาวแดงเป็นฝ่ายชนะและสามารถเปลี่ยนระบอบการปกครองได้อย่างสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗  ผลจากการสู้รบและการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้มีกลุ่มชาวลาวที่หนีภัยสงครามรวมทั้งลาวขาวที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามหลบหนีเข้ามาอยู่ในเขตประเทศไทยในราวปี พ.. ๒๕๑๕ ถึง ๒๕๑๙ รวมถึงในเขตพื้นที่จังอุบลราชธานี โดยส่วนใหญ่จะมาอยู่กับญาติพี่น้องของตนที่ฝั่งไทย ซึ่งกรมการปกครองจะเรียกคนลาวกลุ่มนี้ว่า “ลาวอพยพ”
 
(๓) เศรษฐกิจและความเป็นอยู่  เนื่องจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจ โดยประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการจ้างงานและต้องการแรงงานสูง ทำให้ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตขึ้นด้วย ขณะที่ประเทศลาวมีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ยงคงอิงอยู่กับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมซึ่งมีความยากไร้ ทำให้ต้องแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าโดยหนีหรือย้ายเข้ามายังฝั่งไทยเพื่อหางานไปจนถึงให้ได้มาซึ่งการเป็นคนไทย สภาพการณ์นี้เกิดขึ้นกับชายแดนที่ดินกับพม่าและเขมรด้วย
 
.๒    สถานการณ์ตามกลุ่มปัญหา
 
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงในพื้นที่ศึกษา พบกลุ่มปัญหาคนไร้รัฐหรือไร้สัญชาติ ซึ่งอาจแยกได้ดังนี้
 
()  กลุ่มหลบหนีภัยสงคราม  กลุ่มนี้อพยพเข้ามาราวปี ๒๕๑๘ ถึง ๒๕๑๙ ซึ่งเป็นช่วงระหว่างการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงการปกครอง ส่วนใหญ่มาเป็นครอบครัวมีพ่อแม่ลูก อีกส่วนหนึ่งแยกจากครอบครัวมา ปัจจุบันมีอยู่จำนวนน้อย รุ่นพ่อแม่กลายเป็นผู้สูงวัยและรุ่นลูกอยู่ในวัยผูใหญ่  กลุ่มนี้หากได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบราชการจะได้รับบัตร ลาวอพยพ(บัตรสีฟ้า)  สำหรับรุ่นลูกที่อพยพเข้ามาด้วยกันส่วนใหญ่ได้แสดงตนต่อทางการไทยโดยได้รับแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษ ๓ สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา)  หรือ ทร. ๓๘/๑  ทั้งนี้ เท่าที่ได้สัมภาษณ์ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ทุกคนมีเอกสารแสดงที่อยู่ในประเทศไทยเป็นทะเบียนบ้านของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือ ทร. ๑๓  โดยอาศัยเลขที่บ้านของคนสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่  แท้จริงแล้วคนกลุ่มนี้ไม่ใช่คนไร้รัฐ เพราะเป็นคนของรัฐลาวและมีสัญชาติลาวแต่ไม่ยอมอยู่ภายใต้อำนาจรัฐของตนและบางคนไม่ใส่ใจต่อการแสดงหรือพิสูจน์สัญชาติลาว ขณะเดียวกันรัฐไทยก็ยังไม่ให้สัญชาติไทย
 
(๒) กลุ่มบุตรหลานลาวอพยพที่เกิดในไทย  กลุ่มนี้เป็นบุตรของกลุ่มหลบหนีภัยสงครามที่เกิดในประเทศไทยและบุตรที่สืบสันดานในลำดับชั้นต่อมา จากการสำรวจข้อมูลกลุ่มที่สัมภาษณ์พบว่า เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยกลุ่มนี้มีการขึ้นทะเบียนประเภท ทร. ๑๓ เช่นเดียวกับกลุ่ม (๑)  แต่ทั้งสองกลุ่มนี้พบว่า มีการแยกสร้างบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ต่างหากซึ่งไม่ใช่บ้านตาม ทร. ๑๓ และไม่มีบ้านเลขที่  และสำหรับคนในวัยทำงานมีการขึ้นทะเบียนประเภท ทร. ๓๘/๑  อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า กลุ่มนี้มีความแตกต่างจากกลุ่มพม่า ลาว กัมพูชา ที่ทะลักเข้ามาขายแรงงานในปัจจุบันซึ่งมีการผ่อนปรนโดยการออก ทร. ๓๘/๑ แต่มีการดำเนินการแก้ปัญหาโดยอาศัยวิธีการเดียวกัน  ซึ่งดูตามเหตุผลของการเข้าประเทศไทยแต่ต้นแล้วควรจัดให้กลุ่มนี้เป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนโดยจะได้รับใบทะเบียนประวัติของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน หรือ ทร. ๓๘ ก ซึ่งจะมีโอกาสในการได้สัญชาติไทยมากกว่า แต่สำหรับบุตรที่เกิดในรุ่นหลังและอยู่ในวัยศึกษา ภาครัฐได้มีมาตรการสำรวจในโรงเรียนสถานที่ศึกษาจึงทำให้มีการออก ทร.๓๘ก ให้ถูกต้องตามระเบียบและได้รับใบสูติบัตร ปัญหาว่ากลุ่มนี้จะไดสัญชาติไทยหรือไม่ อย่างไร อาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
 
ก. บุตรที่เกิดจากพ่อและแม่ที่เป็นลาวอพยพ  เมื่อเกิดไม่ได้สัญชาติไทยโดยผลของ ปว.๓๓๗ และเมื่อพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับก็ยังคงไม่ได้สัญชาติไทยเพราะมีพ่อและแม่เป็นคนต่างด้าวตามเงื่อนไขในมาตรา ๗ ทวิ(๑) (๒) หรือ (๓) แต่ในกรณีเห็นสมควรรัฐมนตรีอาจจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายให้ได้รับสัญชาติไทยตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง หลังจากนั้นเมื่อพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๔)  พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับก็ยังคงไม่ได้สัญชาติไทยเช่นเดียวกับหลักในพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๒) ฯ  ต่างกันที่รัฐมนตรีอาจจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้ได้สัญชาติไทยตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง
 
ข. บุตรที่เกิดจากลาวอพยพและคนสัญชาติไทย ซึ่งเกิดในประทศไทยหลังจากอพยพเข้ามาในประเทศไทย โดยผลของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ (ปว.๓๓๗)  ซึ่งโดยหลักไม่ให้สัญชาติไทยแก่บุตรที่มีพ่อหรือแม่เป็นคนต่างด้าว ดังนั้น แม้จะมีพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนไทย บุตรก็ไม่ได้รับสัญชาติไทย แต่โดยผลของพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งยกเลิก ปว. ๓๓๗  ทำให้ได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๗(๑)
 
(๓)  กลุ่มที่เข้ามาภายหลัง  จากการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดจะให้ข้อมูลที่เข้ากรณีกลุ่ม (๑) หรือ (๒) แต่จากการประมวลตามสภาพการณ์และการตอบคำถามที่มีการจัดเตรียมและจัดตั้ง ทางกลุ่มเชื่อว่ามีส่วนหนึ่งที่เข้ามาภายหลัง เช่น คนที่ไม่ปรากฏพ่อแม่ทุกคนจะบอกว่าเข้ามากับป้ากับลุง พ่อแม่อยู่ที่ประเทศลาว หรือเข้ามากับพ่อแม่แต่พ่อแม่กับไปประเทศลาวตั้งแต่ตนยังเด็ก ซึ่งโดยความผูกพันกันระหว่างพ่อแม่ลูกของครอบครัวคนลาวและคนอีสานแล้วไม่น่าที่จะมีการแยกกันระหว่างพ่อแม่ลูกในลักษณะดังกล่าวเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่น่าเชื่อว่าส่วนหนึ่งตามเข้ามาภายหลังมาอยู่กับญาติพี่น้องที่ฝั่งไทยเพื่อโอกาสที่ดีกว่าในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ซึ่งกลุ่มนี้ได้ขอขึ้นทะเบียน ทร. ๓๘/๑ เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการใช้แรงงาน และมีการขึ้นทะเบียนบ้านตาม ทร.๑๓  ซึ่งโดยหลักจะไม่ได้รับสัญชาติไทย
 
สำหรับกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มคนไทยตกหล่น กลุ่มชาวลาวที่อพยพเข้ามาในช่วงการเปิดประเทศตั้งแต่ก่อนที่ไทยจะมีพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๔๗๐ และที่อพยพเข้ามาหลังการใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๔๗๐ ไม่พบตัวอย่างข้อเท็จจริงหรือการกล่าวอ้างถึงปัญหา
 
๒. กฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติและคนไร้รัฐไร้สัญชาติ
 
จากความพยายามในการศึกษาเพิ่มเติมหลังการศึกษาดูงานพบว่ามีกฎหมายและกฎระเบียบหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย แต่ก็เป็นความยากลำบากที่พบว่ากฎหมายในเรื่องดังกล่าวมีความยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเป็นไปตามนโยบายแต่ละยุคสมัย ทำให้เกิดความยากลำบากต่อทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแล้วกฎหมายได้มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับซึ่งน่าจะสามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น เราพบว่า มีกฎหมายหลักซึ่งประเทศไทยอาจนำมาใช้ในการจัดการปัญหาความไร้รัฐและความไร้สัญชาติของบุคคลธรรมดาในประเทศไทย อยู่ ๓ ลักษณะ กล่าวคือ ลักษณะแรก ก็คือ กฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติไทยซึ่งอาจใช้ในการขจัดปัญหาความไร้สัญชาติโดยการให้สัญชาติไทย  โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พระราชสัญชาติ (ฉบับที่ ๒ และ ๓) พ.ศ.๒๕๓๕ รวมถึงพระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีผลในปัจจุบัน
ลักษณะที่สอง ก็คือ กฎหมายไทยว่าด้วยการทะเบียนราษฎรซึ่งอาจใช้ในการขจัดปัญหาความไร้รัฐโดยการให้สถานะทะเบียนไทย โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร  (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีผลในปัจจุบัน ตลอดจนระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการสำรวจและจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. ๒๕๔๘  และระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวคนที่ไม่มีสัญชาติไทย พ.ศ.๒๕๕๑    ลักษณะที่สอง ก็คือ กฎหมายไทยว่าด้วยการประกอบอาชีพซึ่งอาจใช้ในการขจัดปัญหาความผิดกฎหมายว่าด้วยการประกอบอาชีพโดยการให้สิทธิประกอบอาชีพ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ สำหรับการจ้างแรงงาน หรือพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๔๒ สำหรับการลงทุน
 
๓. ปัญหาเกี่ยวเนื่องกับคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่
๓.๑ ปัญหาที่เกิดกับบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ
 
๓.๑.๑  ปัญหาความยากจน พบว่าในพื้นที่ศึกษาเป็นสังคมเกษตรกรรมเพาะปลูกทำนาเป็นหลัก ซึ่งแม้คนสัญชาติไทยเองก็ยังคงมีสภาพยากจนปรากฎให้เห็น สำหรับกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติส่วนใหญ่รับจ้างทำงานในพื้นที่ มีบางส่วนที่ไปรับจ้างทำงานในพื้นที่อื่น เช่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งส่วนใหญ่ไปโดยผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนดังกล่าวดูมีความพอใจในฐานะความเป็นอยู่ซึ่งอาจเพราะเห็นว่าดีกว่าที่เดิมหรือไม่มีทางเลือก
 
๓.๑.๒  ปัญหาการการทำผิดกฎหมายการทำงานของคนต่างด้าวและการทะเบียนราษฎร ซึ่งพบว่าการไปทำงานนอกพื้นที่โดยไม่มีการขอใบอนุญาตทำงานให้ถูกต้อง และไม่มีการขออนุญาตออกนอกพื้นที่  นอกจากนี้มีหลายครอบครัวที่แยกไปสร้างบ้านเรือนอยู่ใหม่ไกลออกไปโดยไม่ได้อาศัยอยู่ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ตาม ทร. ๑๓ โดยบ้านที่สร้างอยู่ใหม่ไม่มีเลขที่ ทำให้ยากต่อการควบคุมการเคลื่อนย้าย
 
..๓  ปัญหาด้านการศึกษา คนต่างด้าวกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาในระบบ ทำให้ด้อยความรู้ ขาดการพัฒนา อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่เกิดรุ่นหลังมีการเข้ารับการศึกษาที่ดีขึ้นในระบบการศึกษาของไทย แต่ยังขาดความเข้าใจในสิทธิด้านการศึกษาของคนต่างด้าว และไม่มั่นใจในโอกาสที่จะได้เข้าทำงานหลังจบการศึกษา
 
.๑.๔  ปัญหาด้านการเข้าถึงสิทธิอย่างคนสัญชาติไทย  คนต่างด้าวกลุ่มนี้มีความต้องการได้สิทธิต่างๆ อย่างคนสัญชาติไทย โดยไม่ได้คิดแต่เพียงว่าเป็นคนต่างด้าว ทำให้เกิดการเรียกร้องหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิบางประการซึ่งอาจการไม่ชอบ
 
๓.๑.๕ ปัญหาด้านข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะบุคคลตามกฎหมาย พบว่า หลายกรณีไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง เช่น ส่วนหนึ่งไม่ขอทำบัตรลาวอพยพตามช่วงเวลาที่ทางราชการประกาศและอาศัยการดำเนินการตามแบบ ท.ร.๓๘/๑ เป็นทางออก ซึ่งทำให้ขาดโอกาสในการได้สัญชาติไทย และอาจมีหลายกรณีที่มีการสร้างข้อเท็จจริงโดยหวังว่าจะเป็นช่องทางให้ได้สิทธิมากขึ้น โดยเฉพาะการได้เป็นคนสัญชาติไทย  นอกจากนี้ มีอีกตัวอย่างหนึ่งที่บอกว่าพ่อเป็นลาวอพยพเข้ามาในปี ๒๕๑๘ แม่เป็นคนไทยแต่ไม่มีบัตร หากเป็นจริงบุคคลดังกล่าวย่อมมีสัญชาติไทยไม่ใช่คนไร้รัฐหรือไม่มีสัญชาติซึ่งมีแต่เพียง ท.ร.๓๘/๑ และ ท.ร.๑๓ แต่ก็ไม่มีสิ่งใดยืนยันได้ว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นจริงหรือเท็จ
 
๓.๒ ปัญหาจากภาครัฐ
 
๓.๒.๑  ปัญหาเกี่ยวเนื่องในเชิงนโยบาย  เนื่องจากรัฐมีความระมัดระวังในด้านความมั่นคง การดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับคนต่างด้าวจึงยังคงมีแนวคิดในเชิงลบต่อการให้สิทธิคนต่างด้าว อย่างไรก็ตามในระยะหลังได้มีการผ่อนปรนค่อนข้างมาก และหากมีการคำนึงถึงสัดส่วนด้านมนุษยธรรมเพิ่มมากขึ้น น่าเชื่อว่าสถาณการณ์จะดีขึ้นอีก
 
๓.๒.๒  ปัญหาด้านการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่    เช่น  ปัญหาด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กับกลุ่มคนต่างด้าว การละเว้นการปฏิบัติต่อคนต่างด้าวที่กระทำผิดกฎหมายซึ่งทำให้คนต่างด้าวไม่ทราบถึงความผิดหรือไม่กลัวความผิด หรือการเลือกปฏิบัติซึ่งทำให้ขาดความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาด้านความเข้าใจในกฎเกณฑ์ที่มีความยุ่งยากซึ่งทำให้มีข้อผิดพลาดในการปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่เป็นมาตรฐานอย่างเดียวกัน
 
๓.๓ ปัญหาจากตัวบทกฎหมาย
 
เท่าได้ศึกษาเพิ่มเติมด้านกฎหมายในระยะเวลาอันจำกัด พบว่า กฎหมายแม่บทที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกฎหมายสัญชาติและกฎระเบียบวิธีปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวมีความยุ่งยากต่อการทำความเข้าใจ มีหลักและมีข้อยกเว้นและเงื่อนไขยกเว้นทั้งตามพระราชบัญญัติและปราศคณะปฏิวัติ จึงเป็นการยากที่คนต่างด้าวจะสามารถเข้าใจและทำให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย แม้แต่คนไทยที่ไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจังก็ไม่อาจเข้าใจได้ทั้งหมด
๔. แนวทางดำเนินการกับปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่
 
๔.๑  การให้สัญชาติแก่บุตรของลาวอพยพ  แนวทางนี้ มีหลักการและเหตุผลว่า คนลาวอพยพที่หลบหนีภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ ถึง ๒๕๑๙ ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย เป็นแหล่งทำมาหาเลี้ยงชีพและทำประโยชน์มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีความผูกพันแน่นแฟ้นกับกลุ่มคนไทยในพื้นที่ที่เข้ามาอาศัยอยู่ด้วยจนเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง และโดยเหตุผลด้านมนุษยธรรม จึงควรให้สัญชาติไทยแก่บุตรของคนกลุ่มนี้ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ มาตรา ๗ ทวิ  วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งนี้ เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด  นอกจากนี้ อาจสนับสนุนหรือช่วยให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยตามเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ กรณีที่เข้าเงื่อนไข  ในส่วนของพ่อแม่ที่เป็นลาวอพยพโดยแท้ เมื่อคำนึงถึงเหตุและผลอย่างเดียวกันดังกล่าวข้างต้น  รัฐน่าจะช่วยสนับสนุนให้ได้สัญชาติไทยโดยกฎหมายและมาตรการที่อาจมีเพิ่มเติม
 
๔.๒  ส่งเสริมการประกอบอาชีพในกรอบที่สามารถทำได้ เช่นเดียวกับคนสัญชาติไทยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและการย้ายถิ่น โดยหลักมนุษยธรรม และโดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และพื้นเพชีวิตเดียวกัน
 
๔.๓  ในการควบคุมดูแล ควรปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายโดยเท่าเทียมและถูกต้อง ไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนในระดับสากล
 
๔.๔  ในด้านการศึกษา ควรส่งเสริมให้ได้รับการศึกษา เพื่อให้รู้ทัน สามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่สังคม    ซึ่งในปัจจุบันรัฐไทยได้มีแนวปฏิบัติผ่อนผันและเอื้อให้คนกลุ่มนี้มีสิทธิเข้ารับการศึกษาใกล้เคียงกับคนสัญชาติไทย
 
๔.๕  ในด้านการให้ความรู้  ควรให้ความรู้ดานกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้รู้ถึงสิทธิหน้าที่ และการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการลดภาระและเวลาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามสิทธิ
 
๔.๖  ภาครัฐและเจ้าหน้าที่รัฐควรให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงเพื่อให้สามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง และให้การส่งเสริมหรือร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรเอกชน เพือสร้างเครือข่ายและร่วมกันแก้ปัญหา
 
                                                            ---------------------------

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:23, 29 เมษายน 2557

รายงานการศึกษาเรื่องคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ตำบลห้วยข่า อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดย นายอานุภาพ นันทพันธ์ นศ.สสสส.๑ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๑


รายงานการศึกษาเรืองคนไร้รัฐ ต.แม่อาย จ.เชียงใหม่ โดย นายบัณฑูร ทองตัน นักศึกษา สสสส.๑ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๑


กรณีศึกษาของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติในสังคมไทย:เรื่องจริงที่เป็นตัวอย่างของคนที่มีปัญหาสถานะบุคคล รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ นศ.สสสส๑ สถาบันพระปกเกล้า